ธาริณี เทียบเทียมชมภู่ สาระศาลินTharinee TeabteamChomphu Sarasalinมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สิริกิติ์2022-09-282022-09-282565-09-282564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79714ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 127ปัญหาจากการจัดท่าผ่าตัดที่พบบ่อยในห้องผ่าตัดศูนย์การแพทย์ สิริกิติ์ คือท่านอนตะแคง ซึ่งมีแบบนอนตะแคงซ้ายหรือนอนตะแคงขวา (Lateral position) ขึ้นอยู่กับผ่าตัดอวัยวะข้างใดของผู้ป่วยในการผ่าตัดทีม แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล ช่วยจัดท่า ผู้ป่วยร่วมกัน ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดใหญ่ (Major surgery) ใช้เวลาในการ ผ่าตัดประมาณ 4-5 ชั่วโมง ต้องทำการดมยาสลบผู้ป่วย (General anesthesia ) ต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบายมากที่สุด ลดการกดทับหรือ ดึงรั้งกระดูกและเนื้อเยื่อของผู้ป่วย หากถูกกดทับหรือดึงรั้งเป็นเวลานาน เกิด ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บกระดูกและเนื้อเยื่อ เมื่อผู้ป่วยฟื้นตื่นจากยาสลบจะ พบรอยช้าหรือความเจ็บปวดอื่นนอกจากแผลผ่าตัดได้ การจัดท่าผ่าตัดแบบนอนตะแคงจะใช้อุปกรณ์จัดท่าดังนี้ หมอน เจลหนุนใต้รักแร้ หมอนทรายดันหน้าท้อง ที่พักแขนด้านบน หมอนรองใต้ขา ผ้ายืด (Elastic bandage) พันข้อเท้า การใช้ผ้ายืดเพื่อรัดข้อเท้ามีจุดบกพร่อง จากการนับสถิติในเดือน กันยายน ปีพ.ศ. 2562 จำนวน 1 เดือนก่อนเริ่ม โครงการ พบผู้ป่วยเกิดรอยกดทับบริเวณข้อเท้า จำนวน 3 ราย จากการใช้ผ้า ยืดรัดข้อเท้าเมื่อออกแรงดึงมากทำให้รัดข้อเท้าผู้ป่วยแน่น และพบขาผู้ป่วย เอียงจนเกือบตกหล่น 1 ราย เนื่องจากออกแรงดึงน้อยทำให้ผ้ายืดหลวม นอกจากนี้ผ้ายืด (Elastic bandage) เป็นเวชภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งทุกราย ทำให้ สิ้นเปลืองทรัพยากรและเกิดการสร้างขยะ จึงได้คิดค้น นวัตกรรมสายรัดข้อ เท้าผู้ป่วยสำหรับท่าตะแคง (Ankle support for Lateral position) มาใช้ แทนผ้ายืด (Elastic bandage) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวthaมหาวิทยาลัยมหิดลนวัตกรรมสายรัดข้อเท้าท่านอนตะแคงผ้ายืดผ่าตัดMahidol Quality Fairนวัตกรรมสายรัดข้อเท้าผู้ป่วยสำหรับการจัดท่าตะแคงAnkle support for Lateral positionProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล