อรุณ เจ็งทีโยธิน คำแสงสุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐรัตนพร พรกุลจันทร์จิรา ชัชวาลาAroon JengteeYothin KumsangSuphaneewan JaovisidhaRatanaporn PornkulJanjira Jatchavalaมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชารังสีวิทยา2022-09-302022-09-302565-09-302556รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2556), 243-2480125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79740วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนางานถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็กให้ได้ผลสัมฤทธิ์ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มาใช้บริการ รวมถึงการแปลผลของรังสีแพทย์และการประสานงานเป็นทีมสหวิชาชีพ วิธีการศึกษา: นักรังสีการแพทย์ ภาควิชารังสีวิทยา จำนวน 46 คน ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ศึกษาปัญหาของนักรังสีการแพทย์ต่อการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็ก ศึกษาช่วงอายุเด็กที่มีปัญหาต่อการถ่ายภาพรังสี และศึกษาปัญหาอื่นๆ ที่พบเห็นในการปฏิบัติงาน โดยแบ่งการตอบคำถามเป็นระดับ 1-5 (เป็นปัญหาน้อยที่สุดจนถึงมากที่สุด) แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยแจกจงความถี่ หาค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ยรวมทั้งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA 11.0 ผลการศึกษา: นักรังสีการแพทย์ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 73.9 เป็นหญิง และร้อยละ 26.1 เป็นชาย เป็นผู้มีประสบการณ์ไม่เกิน 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.9 ประสบการณ์ทำงาน 6 - 10 ปี ร้อยละ 6.5 และประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 32.6 พบว่า ช่วงอายุเด็กที่มีปัญหาต่อการถ่ายภาพรังสีมากที่สุดคือ 2 ปีขึ้นไปถึง 4 ปี รองลงมาคือ ช่วงอายุแรกเกิด 2 ปี ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็กเป็นปัญหาในระดับมากถึงมากที่สุดคือ การที่เด็กดิ้นและไม่อยู่นิ่ง (ค่าเฉลี่ย 4.78 จาก 5) รองลงมาคือ เด็กไปทำหัตถการอื่นมาก่อนทำให้เจ็บปวด (4.28) ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองหรือญาติเป็นปัญหาในระดับปานกลางถึงมากคือ ผู้ปกครองมีความกังวลสูง (3.60) รองลงมาคือ ผู้ปกครองกลัวเด็กจะได้รับอันตรายจากรังสี (3.50) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริการเป็นปัญหาในระดับปานกลางถึงมากคือ ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการผู้ป่วยรายต่อไป (3.50) รองลงมาคือ การที่ต้องถ่ายภาพรังสีซ้ำให้ได้มาตรฐาน (3.36) ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานนั้นเป็นปัญหาในระดับน้อยถึงปานกลางคือ นักรังสีการแพทย์รู้สึกว่าการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของเด็กเป็นงานที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน (2.76) รองลงมาคือ พนักงานผู้ช่วยไม่ช่วยจับยึดตัวเด็ก (2.69) สรุป: ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของเด็ก นักรังสีการแพทย์พบปัญหามากที่สุดกับผู้ป่วยเด็กช่วงอายุ 2 ขึ้นไปถึง 4 ปี ปัจจัยเกี่ยวกับตัวเด็กที่พบมากที่สุดคือ การที่เด็กดิ้นและไม่อยู่นิ่ง ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ปกครองที่พบมากที่สุดคือ ผู้ปกครองมีความกังวลสูงและกลัวว่าเด็กจะได้รับอันตรายจากรังสี ปัจจัยที่เกี่ยวกับการบริการที่พบมากคือ ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการผู้ป่วยรายต่อไปObjective: To improve quality of work in performing chest radiography in children, we aimed to study factors/problems affecting medical radiographers during their work. Methods: A total of 46 radiographers answered the evaluation sheets which include their demographic data; the children’s age range that caused problems; factors or problems related to patients (children), parents, overall service, the radiographer themselves, along with other problems observed during their work. The factors/problems were scored as 1 to 5 (least serious to most serious). All data were analyzed in the term of frequency, percentage, mean value, including standard deviation using the software STATA 11.0. Results: Majority of radiographers (73.9%) were female. Working experience less than 5 years = 60.9%, 6 - 10 = 6.5%, and more than 10 years = 32.6%. The child’s age range that caused maximal problem was > 2 - 4 years, followed by newborn to 2 years. Factors related to the patients (children) that caused maximal problem was the child’s movement (score 4.78 from 5), followed by the child under gone other procedure (distress) before coming to Radiology Department (score 4.28). Factors related to the parents were the parents’ anxiety (3.60), followed by fear of radiation hazard (3.50). Factors related to the service in overall were delayed service to the next patient (3.50), followed by repeated radiography to reach the standard (3.36). Regarding factors related to the radiographers themselves, the most frequent problem was the radiographers’ feeling that taking chest radiography of a child was a difficult task (2.76), follow by their assistant did not help them to fix the children (2.69). Conclusions: While performing chest radiography in children; the problems occurred most seriously with children aged gif.latex?\geq 2 - 4 years. The factors/problems that most serious are the child’s movement and the parent’s anxiety, which resulted in delayed service to the next patients. The radiographers themselves also had a feeling that taking chest radiograph of a child was a difficult task.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็กปัญหานักรังสีการแพทย์Chest radiographChildren ProblemMedical radiographersปัจจัยปัญหาของนักรังสีการแพทย์ต่อการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเด็กที่โรงพยาบาลรามาธิบดีChest Radiography in Children: Factors Affecting Medical Radiographers at WorkOriginal Articleภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล