คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมลศศิมา กุสุมา ณ อยุธยาชลันดา จดจำ2024-01-222024-01-22255825672558วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93407การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษา 2 กลุ่มครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมให้ความรู้ และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่และได้รับรังสีรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมะเร็งปากมดลูกจำนวน 52 คน ที่มารับการรักษาด้วยการฉายรังสี ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้รับการจัดเข้ากลุ่มทดลอง 27 คนและกลุ่มควบคุม 25 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพระยะเวลา 5 สัปดาห์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลในภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ของ Stuifbergen และคณะ (2000) ประกอบด้วย การสอนแบบกลุ่ม การเข้ากลุ่มประคับประคองด้านจิตใจ การให้คำปรึกษารายบุคคล คู่มือ และการให้คำแนะนำและกระตุ้นการปฏิบัติพฤติกรรมทางโทรศัพท์ ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับเฉพาะคู่มือเพื่อศึกษาด้วยตนเอง โดยทั้งสองกลุ่มได้รับการพยาบาลตามปกติ จากพยาบาลแผนกรังสีรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ของ Cella และคณะ (1993) โดยประเมินก่อนเริ่มโปรแกรมสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 5 วันสุดท้ายของรังสีรักษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ 5 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการศึกษานี้ชี้แนะว่าโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพมีประสิทธิผลต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล พยาบาลควรมุ่งให้ความสนใจนำโปรแกรมดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็ง ปากมดลูกระหว่างการรักษา ทั้งนี้ควรมีการศึกษาต่อโดยติดตามผลในระยะยาวThis two-group, quasi-experimental research was aimed at examining the effect of the Health Promotion Psycho-Education Program (HPPP) on the quality of life in women with newly diagnosed cervical cancer while undergoing radiation therapy. The sample consisted of 52 women with cervical cancer who were receiving radiation therapy at one hospital in Lopburi Province. Twenty-seven subjects were assigned to the experimental group and 25 to the control group. Both groups received usual care form the nursing department of radiotherapy The HPPP was a 5-week program developed by the researcher based on Stuifbergen's explanatory model of health promoting behavior and quality of life for persons with chronic disabling conditions (2000). The experimental group received the HPPP which included groupbased teaching and psycho-supportive groups, individual counselling, and telephone coaching with the manual, while the control group received only the manual. Data were collected using FACT-Cx Thai Version (Cella et al., 1993) for pre-test assessment of QOL at Week 1 and post-test assessment at Week 5, the last day of radiation therapy. Data were analyzed using descriptive statistics (e.g. percentages, mean, standard deviation, t-test and ANCOVA. The results revealed that after completing the HPPP at the end of week 5, the experimental group had higher FACT-Cx scores than the control group with statistical significance of p < 0.001. This finding suggested that the HPPP could be an efficacious psycho-supportive and educative intervention for improving quality of life through changing health-promoting behaviors. Nurses should pay great attention to the application of the HPPP among patients with cancer for improving their quality of life during cancer treatment. A follow-up study with long-term monitoring should be conducted.ก-ฌ, 138 แผ่น : ภาพประกอบ, ตารางapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการรักษาด้วยรังสีคุณภาพชีวิตมะเร็งปากมดลูกผลของโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่และได้รับรังสีรักษาThe effect of health promotion psycho-education program (HPPP) on quality of life in women newly diagnosed with cervical cancer undergoing radiation therapyMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล