กชพัช เขียวเม่นไพโรจน์ สุรประภาพิชย์ศศิธร คงอ้วนนิสาศรี เสริมพลKotchapatch KeawmenPairoj SuraprapapichSasithorn KongounNisasri Sermponมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด2021-06-292021-06-292564-06-292561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62803ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 86การเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีความสำคัญต่อการพัฒนานักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ของคะแนนฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกและผลสัมฤทธิ์ของการเรียนกายภาพบำบัดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัดในระบบประสาท กายภาพบำบัดในระบบการหายใจ หัวใจ และการไหลเวียนโลหิต และกายภาพบำบัดในเด็ก ประชากรตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากายภาพบำบัดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัดในระบบประสาทกายภาพบำบัดในระบบการหายใจ หัวใจและการไหลเวียนโลหิตกายภาพบำบัดในเด็ก และวิชาการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ในปีการศึกษา 2557-2559จำนวน 221 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติบรรยาย และใช้สถิติหาค่าความสัมพันธ์ (Correlation statistic) ระหว่างวิชาฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกับ 4 วิชาเรียนหลักของภาคทฤษฎี ผลการศึกษาพบค่าความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างวิชาฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกับวิชากายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบการหายใจ หัวใจ และการไหลเวียนโลหิต แต่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับวิชากายภาพบำบัดในเด็ก การศึกษานี้อาจนำไปสู่การวิเคราะห์ และปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไปthaมหาวิทยาลัยมหิดลกายภาพบำบัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสัมพันธ์Mahidol Quality Fairความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกับคะแนนวิชาเรียนของนักศึกษา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล