ศุภชัย ปิติกุลตังโชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ชาญชุติ จรรยาสัณห์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.2015-10-302021-09-202015-10-302021-09-202558-10-292552https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63597การประชุมวิชาการอนามัยครอบครัวแห่งชาติ ครั้งที่ 6 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครอบครัวไทย: ความหลากหลายสู่ความสมดุล ความสุข และความเข้มแข็ง: Thai family: from diversity to harmony, happiness and healthy, วันที่ 15-16 ตุลาคม 2552 ณ ห้องภาณุรังษี บอลล์รูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552. หน้า 128.การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในเด็กก่อนวัยเรียนอายุระหว่าง 1 - 5 ปี ที่มาใช้บริการในศูนย์เด็กเล็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่ง เพื่อประเมินภาวะการเป็นพาหะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของ Streptococcus pneumoniac ในลำคอ รวมทั้งหาการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ S. pneumoniae โดยวิธี oropharyngeal swab การศึกษานี้มีเด็กเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมด 189 คน เป็นชาย 95 คน หญิง 94 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ Chi-square test และ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 28.6 ของเด็กทั้งหมดเป็นพาหะของ S. pneumoniae ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นพาหะของ S.pneumoniea ได้แก่ การมีผู้เลี้ยงดูหลักเป็นพ่อและ/หรือแม่ (p = 0.030) อายุของแม่ที่มากกว่า 30 ปี (p = 0.046) และภาวะคอแดง (p < 0.005) การศึกษาความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพพบว่าร้อยละ 68.4 ของ S. pneumoniae ดื้อต่อยากลุ่มเพนนิซิลลินและร้อยละ 42.1 ที่ดื้อต่อยา erythromycin ซึ่งเป็นยาชนิดกินสองกลุ่มที่ใช้บ่อยที่สุดในเวชปฏิบัติ ในขณะที่กลุ่มยาฉีด เช่น cefotaxime พบมีอัตราการดื้อยาถึงร้อยละ 24.5 แต่ยังไม่พบการดื้อต่อยา vancomycin การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กที่ได้รับการดูแลจากผู้อื่นด้วยนอกเหนือจากพ่อแม่ซึ่งต้องทำงานเป็นหลัก จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของเชื้อนี้ เด็กที่มีอาการป่วยเป็นไข้หวัดและคออักเสบจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของเชื้อนี้สูงและมีโอกาสแพร่ไปยังผู้อื่นได้ และเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ปกครองตลอดจนหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กที่อยู่รวมกันจำนวนมากในการป้องกันการแพร่เชื้อและลดโอกาสของการเกิดโรคต่างๆ จากเชื้อที่ติดต่อโดยทางการหายใจ นอกจากนี้การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพที่ใช้กันบ่อยๆ ในเวชปฏิบัติมีค่อนข้างสูง แสดงถึงแนวโน้นของปัญหาที่มากขึ้นในการรักษาผู้ป่วยในอนาคต จึงควรมีการรณรงค์อย่างจริงจัง ในเรื่องของการใช้ยาต้านจุลชีพโดยไม่จำเป็นthaมหาวิทยาลัยมหิดลการดื้อยาเด็กโรงพยาบาลสุขภาพสเตร็ปโตคอคคัสปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ Streptococcus pneumonia และการดื้อยาในเด็กสุขภาพดีของศูนย์เด็กเล็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่งProceeding Poster