ทิพเนตร งามกาละพรทิพย์ มาลาธรรมอรพิชญา ไกรฤทธิ์Tipanetr NgamkalaPorntip MalathumOrapitchaya Krairitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2019-07-102019-07-102562-07-102561รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2561), 137-1490858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44286ภาวะสับสนเฉียบพลันเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุที่มีการเจ็บป่วย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ไม่พึงประสงค์ ด้านค่าใช้จ่ายในการดูแล จำนวนวันนอนโรงพยาบาล โอกาสการจำหน่ายไปยังสถานบริบาลผู้ป่วย สูงอายุ และอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงของภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูล ผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า ที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลรามาธิบดีช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน 2559 โดยใช้แบบประเมินภาวะสับสน เฉียบพลันและปัจจัยเสี่ยง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 64 ปีถึง 89 ปี เฉลี่ย 80.52 ปี อาการแสดงที่นำมาโรงพยาบาลมากที่สุด คือ อาการทางด้านระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 39.13 พบอุบัติการณ์เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันร้อยละ 12.85 โดยเกิดช่วงวันที่ 1 ถึงวันที่ 4 และระยะ เวลาของการมีภาวะสับสนอยู่ในช่วง 2 ถึง 12 วัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน พบว่ามีหลายปัจจัยร่วมกันที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อ ภาวะขาดน้ำ ภาวะเสียสมดุลของสารน้ำ และเกลือแร่ ภาวะปวด และภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ตามลำดับ และยังพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ทุกรายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 2 อย่างขึ้นไป การศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันและ การจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลต่อไปAcute confusional state is a common phenomenon associated with acute illness in hospitalized older patients. It independently predicts undesirable hospital outcomes, higher costs of care, prolonged hospital stays, higher mortality, and greater discharge to nursing homes. The purpose of this study was to explore the incidence rate and risk factors of acute confusional state at Ramathibodi Hospital, Thailand. This prospective descriptive study was conducted between January and April 2016 in 179 patients, aged 60 years and older, admitted to general medical wards. The Confusion Assessment Method and the Risk Factor of Acute Confusional State Checklist were daily used to assess acute confusional state and its risk factors, respectively. The average age of the sample ranged from 64 to 89 years (M = 80.52). Most presenting signs and symptoms found on admission were related to the respiratory problem (39.13%). The incidence of acute confusional state was 12.85%. The acute confusional state was found on Day1 to Day4 and its duration was from 2 to 12 days. Common risk factors for acute confusional state were multifactorial, including infection, dehydration, electrolyte imbalance, pain, and hypoxemia, respectively. All of the sample had more than two risk factors. This study can be used as baseline data for prevention and management of acute confusional state in hospitalized older patients.thaมหาวิทยาลัยมหิดลอัตราอุบัติการณ์ปัจจัยเสี่ยงภาวะสับสนเฉียบพลันผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลIncidence rateRisk factorsAcute confusional stateHospitalized older patientsอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลIncidence and Risk Factors of Acute Confusional State in Hospitalized Older PatientsArticleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล