วรัญญา บุญชัยศุภิสรา วงษ์ดามาธิตินันท์ กำแพงสินมณฑาทิพย์ บุญยะวารีชุติพนต์ พฤกษาเอกอนันต์ชญาดา ชัยบุตรมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาตจวิทยา2022-09-142022-09-142565-09-142564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79524ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 104งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาประโยชน์ของการตัดชิ้นส่วน รองเท้ามาทำการทดสอบผื่นแพ้สัมผัส โดยการปิดแผ่นทดสอบบนผิวหนัง ด้วย การเปรียบเทียบผลบวกที่ได้จากการทดสอบชิ้นส่วนรองเท้าของผู้ป่วยและชุด สารทดสอบมาตรฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่สงสัยโรคผื่นแพ้สัมผัส จากรองเท้าและได้รับการทดสอบผื่นแพ้สัมผัส โดยการปิดแผ่นทดสอบบน ผิวหนังด้วยชุดสารทดสอบมาตรฐานและชิ้นส่วนรองเท้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543- 2562 ผลการศึกษาพบว่า จากจำนวนผู้ป่วยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรค ผื่นแพ้สัมผัสจากรองเท้า 77 ราย มีผู้ป่วยจำนวน 48 ราย (62.3%) มีผลบวก จากการทดสอบด้วยชุดทดสอบมาตรฐาน 53 ราย (68.8%) มีผลบวกจาก ชิ้นส่วนรองเท้า และผู้ป่วยจำนวน 29 ราย (37.7%) มีผลบวกจากชิ้นส่วน รองเท้าเพียงอย่างเดียว ไม่มีผลบวกจากชุดทดสอบมาตรฐาน ดังนั้นการ ทดสอบด้วยชิ้นส่วนรองเท้านี้สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการวินิจฉัยโรคผื่นแพ้ สัมผัสจากรองเท้าได้ถึง ร้อยละ 37.7 การทดสอบด้วยชิ้นส่วนรองเท้าจึงอาจ ช่วยทดแทนการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ที่ไม่รู้จักหรือไม่ได้อยู่ในชุดทดสอบ มาตรฐานได้thaมหาวิทยาลัยมหิดลทดสอบผื่นแพ้สัมผัสโรคผื่นโรคผื่นแพ้สัมผัสจากรองเท้าPatch testingMahidol Quality Fairการศึกษาประโยชน์ของการตัดชิ้นส่วนรองเท้ามาทำการทดสอบผื่นแพ้สัมผัสโดยการปิดแผ่นทดสอบบนผิวหนังในผู้ป่วยที่สงสัยโรคผื่นแพ้สัมผัสจากรองเท้าProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล