สุดาภรณ์ พยัคฆเรืองกรกนก เกื้อสกุลญาดา หงษ์โตSudaporn PayakkaraungKornkanok KuesakulYada Hongto2024-10-042024-10-042567-10-042567https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/101442วัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการให้ความหมายประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทย รูปแบบการวิจัย: การศึกษาปรากฎการณ์วิทยาเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: สัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและแบบบอกต่อ ทุกการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้วิจัยทำการมีการบันทึกเสียง ถอดเทปคำต่อคำ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและตีความหมายข้อมูลด้วยวิธีการของโคไลซีร่วมกับการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย: พยาบาลจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 29-59 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 42.80 ปี (SD±8.23) ปฏิบัติงานในคลินิกนมแม่ (ร้อยละ 40, n = 8) อายุงานระหว่าง 5-38 ปี อายุงานเฉลี่ย 19.55 ปี (SD±9.60) ผลการวิจัยนำเสนอประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก 8 ประเด็นย่อย โดย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ปรับวิธีคิดและมุมมองในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) เปลี่ยนวิธีการให้บริการ และ 3) ขับเคลื่อนนโยบายด้านการปฏิบัติด้วยประสบการณ์ ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลที่ติดเชื้อโควิด-19 ยอมรับว่าการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เผชิญกับความท้าทายหลายประการ ประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยโควิด-19 กระตุ้นให้พวกเขาปรับทัศนคติเพื่อให้การพยาบาลที่ดีขึ้น พัฒนาแนวทางใหม่ในการให้บริการด้านสุขภาพ และเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงปฏิบัติด้วยประสบการณ์ ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญด้วยการกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตPurpose: To explore the breastfeeding promotion experiences during the COVID-19 pandemic in Thailand of nurses infected with Corona Virus 2019. Design: A descriptive phenomenological study. Methods: In-depth interviews were conducted with 20 nurses infected with COVID-19 and involved in breastfeeding promotion. Participants were selected using purposive and snowball sampling methods. Interviews were guided by a semi-structured format, tape-recorded, and transcribed verbatim. Data were analyzed using Colaizzi’s method of data analysis with thematic analysis to identify emergent themes. Main findings: The study involved 20 nurses aged 29-59 with an average age of 42.80 (SD±8.23) years. Most participants (40%, n = 8) worked in a lactation clinic with work experience ranging from 5-38 years with an average of 19.55 years (SD±9.60). The major findings consist of 3 main themes and 8 sub-themes, of which 3 main themes are: 1) adjusting mindset and perspective in promoting breastfeeding, 2) changing the services approach, and 3) driving practical policies with experience, knowledge, and evidence. Conclusion and recommendations: COVID-19-infected nurses acknowledged that promoting breastfeeding during the COVID-19 pandemic faced several challenges. Experience as COVID-19 patients encouraged them to adjust their attitude to provide better nursing care, develop a novel approach, and be a leader in driving practical policy with experience, knowledge, and evidence. Relevant stakeholders should focus on providing practical policies and developing an effective support system for promoting breastfeeding in pandemic situations.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่ไวรัสโคโรน่า 2019พยาบาลการวิจัยเชิงคุณภาพbreastfeedingCOVID-19nursesqualitative researchวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing Scienceประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019Breastfeeding Promoting Experiences of Nurses Infected with COVID-19Articleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล