Sitha PiyaselakulSirinush SricharoenvejSuwattana Tongear2024-01-252024-01-25201520242015Thesis (M.Sc. (Anatomy))--Mahidol University, 2015https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94071Anatomy (Mahidol University 2015)The present study aims to investigate the variation of the talar articular facet pattern of subtalar joint in relation to the articular area as well as to the height of the medial longitudinal arch (MLA) in Thais. Three hundred and forty pairs of feet from 170 Thais cadavers (96 from males and 73 females, with average age of 68 years) were used. The soft tissue was dissected out to leave only the binding ligaments, the talus was then removed to expose the articular surfaces, the talar articular facets and medial aspect of 146 complete feet were photographed. The pattern of talar articular surface was classified. The arch height was described by normalized navicular height (NNH, navicular height and arch length ratio) and measurement of the articular area was done via Image tool program. The result showed that the variations of talar articular facets were classified into 7 types according to the number and configuration of the facets. The mostly found was type 5(fused anterior and middle facets with a cylindrical shape). The non-fused facet showed significant greater NNH (p<0.01) than fused facet. The arch group can be allotted into low, normal and high arch by using the first and third quartile of NNH as 0.178-0.237 was normal. The low arch group showed significant lesser area of articular facet than high arch group. In conclusion, the results suggested that the talar articular facet pattern of subtalar joint are varied and also related to the height of the arch of the foot. The information of this thesis, therefore, provides fundamental knowledge for further study of biomechanics of foot and will be benefit for early detection of foot injury and its etiology in Thais.การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของผิวข้อต่อกระดูกด้านล่างของกระดูกของข้อต่อซับทาล่าร์ในคนไทย และความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของโค้งเท้าด้านใน ซึ่ง ศึกษาจากกระดูกเท้าของคนไทย จานวน 340 ชิ้น จากอาจารย์ใหญ่ 170 ร่าง (ชาย 96 คู่และหญิง 73 คู่ มีอายุเฉลี่ย 68 ปี) เนื้อเยื่อโดยรอบจะถูกชาแหละออกให้เหลือแต่เอ็นที่ยึดกระดูก และกระดูกทาลัสจะถูกชาแหละออกเพื่อเปิดให้เห็นผิวข้อต่อกระดูกด้านล่างของกระดูกของข้อต่อซับทาล่าร์โดยกระดูกเท้าที่สมบูรณ์จานวน 146 ชิ้น จะถูกนำมาถ่ายรูปบริเวณผิวข้อต่อกระดูกส้นเท้าด้านบนทั้งหมด และโค้งเท้าด้านในจากนั้นทำการจำแนกประเภทของผิวข้อต่อโดยการสังเกตแล้ววัดพื้นที่ผิวข้อต่อและความสูงของกระดูกนาวิคูล่าร์กับความยาวของโค้งเท้า ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนั้นนำมาคานวณอัตราส่วนระหว่าง ความสูงของกระดูกนาวิคูล่าร์กับความยาวของโค้งเท้า เพื่อบ่งบอกถึงความสูงของโค้งเท้า ผลการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งรูปแบบของผิวข้อต่อกระดูกส้นเท้าด้านบนออกได้เป็น 7 แบบ โดยใช้จานวนด้านและรูปร่างของผิวข้อต่อ โดยพบแบบที่ 5 มากที่สุด (แบบที่มีผิวข้อต่อด้านหน้าและด้านกลางกลางเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก) และพบว่าความสูงของโค้งเท้าในกลุ่มที่ผิวข้อต่อด้านหน้าและตรงกลางแยกออกจากกันมีความความสูงของโค้งเท้ามากกว่ากลุ่มที่เชื่อมติดกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ความสูงของโค้งเท้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ต่ำ, ปกติ และสูง แบ่งจากค่าควอไทล์ที่ 1 และ 3 ของอัตราส่วนระหว่าง ความสูงของกระดูกนาวิคูล่าร์กับความยาวของโค้งเท้า จะมีค่าความสูงของโค้งเท้าปกติอยู่ในช่วง 0.178-0.237 ซึ่งพบว่าใน กลุ่มที่มีโค้งเท้าต่ำ จะมีพื้นที่ผิวของข้อต่อน้อยกว่ากลุ่มที่มีความโค้งของเท้าสูง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบของผิวข้อต่อกระดูกด้านล่างของกระดูกของข้อต่อซับทาล่าร์ในคนไทยนั้นมีความแปรผันทางกายวิภาค และมีความสัมพันธ์กับความสูงของโค้งเท้า ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นความรู้พื้นฐานของการศึกษาชีวกลศาสตร์ของเท้าและประโยชน์ต่อการวินิจฉัยภาวะผิดปกติของโค้งเท้าในคนไทยต่อไปx, 51 leaves : col. illapplication/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าSkin DiseasesAnatomy -- histologySubtalar JointMorphologic study of the articular surface of subtalar joint in Thais : relation to arch of footศึกษาสัณฐานของผิวข้อต่อซับทาล่าร์ในคนไทยสัมพันธ์กับโค้งเท้าMaster ThesisMahidol University