สมสิทธิ์ อัสดรนิธีศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัยฐาณารัตน์ สุธนากุลวิทย์2024-01-152024-01-15256025672560วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92683จิตตปัญญาศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามิติภายในที่เป็นหัวใจของการเป็นกระบวนกรเพื่อการเรียนรู้ด้านในคืออะไร และเพื่อนำข้อมูลและบทเรียนที่ได้จากการศึกษามิติภายในของกระบวนกรมืออาชีพทั้ง 3 คนนามาใช้ในการสังเกตและการทางานในฐานะกระบวนกรของตนเองในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางมิติภายในผ่านประสบการณ์ตรงผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน วิธีวิทยาการวิจัยแนวปรากฎการณ์วิทยา (Phenomenological research) และวิธีวิทยาการวิจัยแบบฮิวริสติก (Heuristic research) ควบคู่กัน โดยนำเสนอผ่านเรื่องเล่าจากมุมมองผู้วิจัย ผลการศึกษาพบว่า จากการได้ติดตามและพูดคุยกับกระบวนกรทั้งสามคนทำให้ได้มองเห็นความหมายของมิติภายในที่เป็นหัวใจของการเป็นกระบวนกรเพื่อการเรียนรู้ด้านในว่า ประกอบไปด้วย การยอมรับในทุกส่วนของตนเอง,การยอมรับในความผิดพลาดและล้มเหลวได้ ,การทำงานกับตนเอง, สติและการภาวนา และท้ายสุดคือ ชีวิตและการเป็นกระบวนกรเป็นเส้นทางเดียวกัน ซึ่งทั้ง 5 หัวข้อนี้เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยได้ซึมซับมาจากกระบวนกรแต่ละคน และมองว่า เมื่อกระบวนกรมีทั้ง 5 ประเด็นตระหนักอยู่ภายในหัวใจ ย่อมทำให้หนทางในการเป็นกระบวนกรของตนเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ใจ ด้วยเพราะตนไม่ใช่เพียงผู้สอน แต่เป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างเป็นหนึ่งเดียวตามที่ตนสอนในส่วนของการเปลี่ยนแปลงมิติภายในของตัวผู้วิจัยในฐานะกระบวนกรนั้น ก็ได้พบว่า ตลอดเส้นทางทั้งการพูดคุยและจัดกระบวนการเรียนรู้ รวมไปถึงองค์ประกอบในชีวิตได้พาให้ผู้วิจัยได้เห็นสิ่งที่เป็นความเคยชินของตน เช่น การเปรียบเทียบ ความคาดหวังต่อตนเอง ฯลฯ ซึ่งการได้ทำงานกับตนเองตลอดเส้นทางทำให้ผู้วิจัยได้ก้าวข้ามจากตัวตนเดิมไปสู่ตัวตนใหม่ และมองเห็นความหมายของความเป็นคนธรรมดาที่ยังมีทั้งความสวยงามและความผิดพลาดปะปนกัน และมองเห็นว่าแม้เส้นทางนี้จะเริ่มต้นจากการมองเห็นภายในตนเอง แต่ท้ายสุดแล้วมันคือหนทางเดียวกันสู่การมองเห็นและเข้าใจในผู้อื่นเช่นกัน โดยมีปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเกิดการใคร่ครวญตนเอง การใคร่ครวญผ่านผู้อื่น และการลงมือทำด้วยประสบการณ์ตรงThis research aimed to study the essence of inner experiences of being a contemplative facilitator how the researcher transformed through the direct experiences while being a facilitator. The researcher used a qualitative research method with Phenomenological and Heuristic methodology and was presented as a narrative from the researcher's perspective. Firstly, The researcher found that the essence of inner experiences of being a facilitator from 3 professional facilitators life contain acceptance from within, admitting their own mistakes, inner work, mindfulness and meditation, undivided life and work as a facilitator. The researcher believed that when the facilitator was aware of all 5 topics in their mind, it will make them worked with clearness because they facilitate in the same way as how they live. Secondly, from the direct experiences which is not only being facilitator but living and being with 3 facilitators. The researcher made to understand about inner self such as comparison thinking and self-expectation etc. The researcher got over an old self to a new self by the inner working along the journey. The most important lessons was how the author realized about being an ordinary people who has both beautiful and ugly parts within. Although this journey started from understanding the own self, it is the same way to understand others as well. Finally, the author found that the factors of inner transformation include self-contemplation, contemplation through others and overcoming with action.ก-ฌ, 234 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงวิทยากร -- การฝึกอบรมมิติภายในของกระบวนกรสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงมิติภายในของฉันในฐานะกระบวนกรFrom facilitators' inner experience to my inner transformation as a facilitatorMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล