เหมือนจันทร์ วรรณนาสิทธิโชคจิตติมา บุญเกิดธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวีกิตติยา เที่ยงจิตร์Muanjan WannasitthichokChitima BoongirdThunyarat AnothaisintaweeKittiya Theangjitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์2022-07-222022-07-222565-07-222564รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 44, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2564), 32-430125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72223บทนำ: การประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุเป็นวิธีการที่สำคัญในการป้องกันการหกล้ม คลินิกประเมินผู้สูงอายุให้บริการแบบองค์รวม การใช้ยาในผู้สูงอายุทุกคนได้รับการดูแลโดยเภสัชกร วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาจากการใช้ยาที่สัมพันธ์กับการหกล้มของผู้สูงอายุ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในผู้ป่วยที่มีประวัติหกล้ม เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของคลินิกประเมินผู้สูงอายุ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ประวัติการหกล้ม โรคประจำตัว และข้อมูลการประเมินการใช้ยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์พหุตัวแปรที่สัมพันธ์กับการหกล้มซ้ำ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีประวัติหกล้มทั้งหมด จำนวน 183 คน หกล้มซ้ำ จำนวน 97 คน ร้อยละ 77 ของผู้ป่วยมีโรคร่วม 5 โรคขึ้นไป เกินครึ่งมีภาวะสมองเสื่อม นอกจากนี้พบปัญหาจากการใช้ยาถึงร้อยละ 69.4 โดยประมาณ 4 ใน 5 ของผู้ป่วยรับประทานยา 5 ชนิดขึ้นไป และการใช้ยาเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มซ้ำ (OR [95% CI], 2.11 [1.03 - 4.33]) อย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) สรุป: ผู้ป่วยที่มีประวัติหกล้มพบปัญหาทางยาสูงถึงร้อยละ 69.4 และมีโรคร่วมหลายโรครวมถึงโรคสมองเสื่อม การใช้ยาเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มซ้ำถึง 2 เท่า ดังนั้นการประเมินและแก้ไขปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุที่มีประวัติการหกล้มเป็นเรื่องที่สำคัญมากBackground: Drug use evaluation as an intervention approach for fall prevention has an effect on most drug-related outcomes. Geriatric assessment clinic provides comprehensive care in elderly patients. All prescribed or non-prescribed medications were evaluated by pharmacists. Objective: To study the drug and drug-related problem among elderly patients with history of falling. Methods: This is a cross-sectional study of elderly patients with history of fallings. Demographic data, health information, history of falls, and drugs use evaluation were obtained from their medical records in year 2010 to 2020. Linear regression model was used to examine the multivariate correlates to number of fallings. Results: A total of 183 patients with history of falling were studied. Of this, 97 had recurrent falls. Most patients (77%) had more than 5 underlying diseases and over half (55%) had dementia. Drug-related problem were found 69.4%, 4 in 5 of patients used 5 types of the medications or more. The diabetes drugs were found to increase risk of recurrent falls significantly (OR [95% CI], 2.11 [1.03 - 4.33]; P < .05). Conclusions: Most elderly patient with history of falling have drug-related problem (69.4%) and multiple morbidities including dementia. The diabetes drugs were 2 times significantly increased risk of recurrent falls. This study highlights the important of drugs management in this vulnerable group of elderly patients.thaมหาวิทยาลัยมหิดลปัญหาทางยาโรคร่วมหลายโรคสมองเสื่อมสูงอายุหกล้มDrug problemMultiple morbiditiesDementiaElderlyFallingการประเมินการใช้ยาที่สัมพันธ์กับการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในคลินิกประเมินผู้สูงอายุ โรงพยาบาลรามาธิบดีDrug Use Evaluation Among Elderly Patients With History of Falling in Geriatric Assessment Clinic, Ramathibodi HospitalOriginal Articleภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล