Rungnapha Khiewchaumรุ่งนภา เขียวชะอำOrapan Thosinghaอรพรรณ โตสิงห์Prangtip Chayaputปรางทิพย์ ฉายพุทธKetsarin Utriyaprasitเกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์2018-01-112018-01-112018-01-112011วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที1 (ม.ค-มี.ค 2554), 18-25https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3325การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะตามกรอบแนวคิดกระบวนการใช้ผลงานวิจัยของไอโอวา ขั้นตอนการพัฒนาประกอบด้วยการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน จากองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและการสังเกตผู้ป่วยในสถานการณ์จริง การกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์จากฐานข้อมูล OVID, CINAHL, MEDLINE, SCIENCEDIRECT, PUBMED, BLACKWELL ได้งานวิจัย จำนวน 29 เรื่องนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ข้อเสนอสำหรับการปฏิบัติ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ จำนวน 2 ระยะนำข้อเสนอไปพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลขั้นตอนการพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและคู่มือการเตรียมความพร้อมสำหรับญาติ ซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะหาความแม่นตรงเชิงเนื้อหาของแนวปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจำนวน 5 ราย ในห้องผู้ป่วยหนักรวมและหอผู้ป่วยสามัญของโรงพยาบาลระยอง พบว่ามี ความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไปใช้ในสถานการณ์จริง จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติด้วยการทำวิจัยทางคลินิกและเพื่อให้แนวปฏิบัติการพยาบาลเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนควรมีการเผยแพร่แนวปฏิบัติการพยาบาลสู่หน่วยงานและเครือข่ายพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะThe purpose of this study was the development of a clinical nursing practice guideline (CNPG) for preparation of caregivers of patients with TBI (traumatic brain injury) using the IOWA model. The establishment of CNPG was done from the analysis of problem knowledge and patient observation. By searching databases and checking reference lists, 29 related research literature were selected. These studies were analyzed and synthesized to develop a preparation of caregivers of patients with TBI, which included two phases. The clinical nursing practice guideline was validated by five experts and was revised according to the experts’ comments and suggestions. CNPG was tested on five sample of patients with TBI in the intensive care unit of Rayong hospital. Study results revealed that the established CNPG was able to aid in preparing caregivers of patients with TBI. It is recommended that the CNPG should be carried out to determine its effectiveness and to continue further development this guideline should be integrated into routine practice for nurses and healthcare team members.thaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะญาติผู้ดูแลOpen Access articleวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing Scienceการพัฒนาแนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะThe Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Preparation of Caregivers of Patients with TBI (Traumatic Brain Injury)ArticleFaculty of Nursing, Mahidol University (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)