วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุลณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ณัฐนุชา ศศิปุราณะ2024-01-232024-01-23255525672555วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93666ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสําหรับ นักเรียนไวโอลินชั้นต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน กับหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสําหรับนักเรียนไวโอลินชั้นต้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสําหรับนักเรียนไวโอลิน ชั้นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนซึ่งประกอบด้วยแบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนและ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอยางได้แก่ นักเรียนไวโอลินชั้นต้นที่มีระยะเวลาการเรียนอยางต่ำ 6 เดือน จํานวน 15 คน ที่เล่นไวโอลิน เพี้ยนเนื่องจากไม่สามารถฟังเสียงเพี้ยนในการเล่นไวโอลินได้อยางถูกต้องและเรียนวิชาไวโอลินในชั้นเรียนเดี่ยว กับครูผู้สอน โดยผู้วิจัยให้ครูผู้สอนเป็นผู้คัดกรองผู้เข้าร่วมวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสําหรับนักเรียนไวโอลินชั้นต้นมี ประสิทธิภาพ 80.25/81.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสําหรับนักเรียนไวโอลินชั้นต้นหลังเรียนสูงกวาก่อนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสําหรับนักเรียนไวโอลินชั้นต้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสําหรับนักเรียนไวโอลินชั้นต้นอยูในระดับมากThe purposes of this study were: 1) to create a computer program in outof-tune listening for beginner violin students with efficiency of 70/70, 2) to compare the students' achievement with pretest and posttest scores, and 3) to study the satisfaction of students with this computer program. The research instruments were the computer program in out-of-tune listening for the beginner violin student consisting of exercises, formative tests, pretest and posttest, and a satisfaction questionnaire. The sample group was 15 beginner violin students who were playing the violin out of tune because they didn't have the concept of good intonation, and who studied in a private class with their teacher for longer than 6 months. The results of the research were as follows: 1) the computer program in out-of-tune listening for beginner violin students had an efficiency of 80.25/81.17, 2) posttest scores were higher than pretest scores at the statistically significant level of p<0.05, and 3) the satisfaction of students toward this computer program was at a high level.ก-ฌ, 122 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าดนตรี -- การศึกษาและการสอนไวโอลิน -- การศึกษาและการสอนดนตรี -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์การฟัง -- กิจกรรมการเรียนการสอนการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกฟังระดับเสียงเพี้ยนสำหรับนักเรียนไวโอลินชั้นต้นCreation of computer program in out of tune listening for beginner violin studentMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล