จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัยมุกดา เดชประพนธ์ชาลิณีย์ โฆษิตทาภิวัธน์พิณทิพ รื่นวงษาภิญโญ พานิชพันธ์Chularuk KaveevivitchaiMukda DetpraponChalinee KosittapiwatPintip RuenwongsaBhinyo Panijpanมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2019-12-132019-12-132562-12-132556รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 19, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2556), 428-4430858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48396การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเรื่อง การตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอ สำหรับนักศึกษาพยาบาลโดยบูรณาการความรู้ ด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาเพื่อเพิ่มความเข้าใจ การคงอยู่ของความรู้ และทักษะปฏิบัติในการ ตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอ ตามแนวคิดทฤษฎีปัญญานิยม ทฤษฎีแรงจูงใจของ เคลเลอร์ รูปแบบ เออาร์ซีเอส และทฤษฎีการเรียนรู้จากเงื่อนไขการกระทำของสกินเนอร์ ผ่านภาพ เคลื่อนไหวและการมีปฏิสัมพันธ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา พยาบาลเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) ปีการศึกษา 2551 จำนวน 60 ราย สุ่มตัวอย่างแบบ ง่ายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มควบคุม 29 ราย และกลุ่มทดลอง 31 ราย ทั้งสองกลุ่ม ได้รับการสอนโดยวิธีบรรยายและสาธิต แต่กลุ่มทดลองได้เรียนเสริมจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนสื่อประสม เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบสอบถามและการ สัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความรู้และการปฏิบัติในคลินิกของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนทักษะปฏิบัติการตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและ คอของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง อาจารย์พยาบาลจำนวน 5 ราย และนักศึกษากลุ่มทดลองจำนวน 10 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี ความคิดเห็นต่อการใช้บทเรียนช่วยสอนในทางบวกโดยคิดว่าเป็นสื่อที่มีประโยชน์และใช้ง่าย ดังนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมสามารถนำไปใช้สอนเสริมเพื่อเพิ่มทักษะในการ ตรวจร่างกายThe purposes of this study were to develop a multimedia computer-assisted learning (CAL) on physical examination in adult: head and neck for nursing students. This CAL integrated anatomical and physiological contents to enhance students’ understanding, knowledge retention and performance skill based on cognitive learning theory, Keller’s ARCS model, and Skinner’ operant conditioning theory through interactive features on information technology. A quasi experimental design was used in this study. The sample of 60 general nurse practitioner students (primary medical care) in academic year 2008 were pre-tested and simple randomly assigned by computer generated program into two groups, control (n = 29) and experimental (n = 31) groups. Both groups were taught theoretical content through lecture and demonstration of head and neck examination; however only the experimental group received the multimedia CAL for their study. Questionnaires and semistructured interview were used to collect data. The results revealed that there was no statistically significant difference in the test scores and clinical practice scores. However, the performance scores in the experimental group were statistically significant higher than those in the control group. In addition, the results from semi-structured interview with both 5 nursing instructors and 10 nursing students showed the positive opinion toward this multimedia CAL. They also realized that it is a useful learning tool and is easy to use. This multimedia CAL could be used as an additional tool to improve performance skills.thaมหาวิทยาลัยมหิดลบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมทักษะการตรวจร่างกายศีรษะและคอนักศึกษาพยาบาลMultimedia computer-assisted learningPhysical examination skillsHead and neckNursing studentsการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมที่บูรณาการความรู้ด้านกายวิภาค สรีรวิทยา เพื่อส่งเสริมทักษะของนักศึกษาพยาบาลในการตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอDevelopment of a Multimedia Computer-assisted Learning with Integrated Content of Anatomy and Physiology for Enhancing Nursing Students’ Skills on Physical Examination in Adults: Head and Neck ExaminationResearch Articleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล