วชิระ สิงหะคเชนทร์อนุสรณ์ สุนทรพงศ์สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.2015-09-302021-09-152015-09-302021-09-152558-09-302525https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63560การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 2: บทคัดย่อ, 10-12 พฤษภาคม 2525 ณ หอประชุมราชพฤกษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2525. หน้า 10.การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเสนอผลวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ของการใช้บริการด้านสาธารณสุขของชุมชนหมู่บ้านชนบท กับ ผสส. และ อสม. ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลใน “โครงการวิจัยสหกรยา พ.ศ. 2523-2524” โดยการการศึกษาจากข้อมูลทั่วไป และจากการติดตามผลการปฏิบัติงานของโครงการ ซึ่งแยกศึกษาเฉพาะหมู่บ้านที่มี ผสส. และ อสม. ดำเนินการอยู่ซึ่งมีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน ผลการศึกษาปรากฎว่า ประชาชนในหมู่บ้านร้อยละ 48.2 ไม่รู้จัก ผสส. และ อสม. และส่วนใหญ่ที่รู้จัก ผสส. และ อสม. ก็ยังไม่ทราบว่าทำหน้าที่อะไรในหมู่บ้าน การขอคำปรึกษาเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นในหมู่บ้าน มีจำนวนประชาชนไม่มากนัก จะไปขอคำปรึกษาจาก ผสส. และ อสม. คือประมาณร้อยละ 13.72 ของบุคคลที่ไปปรึกษาฯ การรักษาพยาบาล และการเจ็บไข้ได้ป่วยในอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ พบว่ามีเพียงร้อยละ14.0 ที่ไปของใช้บริการจาก ผสส. และ อสม. การให้ความรู้ในด้านการสาธารณสุข พบว่า ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุขต่าง ๆ และการวางแผนครอบครัวจาก ผสส. และ อสม. เพียงร้อยละ 6.4 และ 7.4 ตามลำดับ และเมื่อมอบให้ ผสส. และ อสม. มีกิจกรรมเฉพาะเพิ่มเติม (คือจัดตั้งให้มีโครงการสหกรรยาในหมุ่บ้าน) พบว่า การใช้บริการด้านสาธารณสุขจาก ผสส. และ อสม. มีอัตราร่วมเพิ่มขึ้นกว่าเก่ามาก และประชาชนรู้จักใช้แหล่งบริการสาธารณสุขในหมู่บ้านมากขึ้นthaมหาวิทยาลัยมหิดลการใช้บริการสาธารณสุขผสส.อสม.การใช้บริการด้านสาธารณสุขจาก ผสส. และ อสม.Proceeding Abstract