ฐนิต วินิจจะกูลสุดารัตน์ เชื้อพรหมนิภาพรรณ ศรแก้ววันทนีย์ เกรียงสินยศThanit VinitchagoonSudarat ChuarphomNipaphan SornkaewWantanee Kriengsinyosมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันโภชนาการ2021-06-302021-06-302564-06-302561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62809ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 6การศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิด flipped classroom กับการเรียนการสอนรายวิชาด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์สำหรับนักศึกษาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เพื่อตอบโจทย์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่ต้องการให้ปรับปรุงรายวิชาในส่วนของการเข้าถึงแหล่งสืบค้นข้อมูล และความสอดคล้องของเนื้อหารายวิชากับจำนวนชั่วโมงเรียน ร่วมกับการเพิ่มกิจกรรม การเรียนรู้ในชั่วโมงเรียนแบบ active learning โดยมีการออกแบบรายวิชาใหม่ ก่อนจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยใช้ระบบ Small Private Online Course (SPOC) ของ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUxDev) เป็นตัวช่วยในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีแนวโน้มที่จะพึงพอใจในรายวิชาเพิ่มมากขึ้นกว่าปีการศึกษาก่อนหน้า และเมื่อเข้าฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ก็ พบว่าอาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษามีแนวโน้มที่จะพึงพอใจต่อความสามารถของนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นกว่าปีการศึกษาก่อนหน้าเช่นกัน การศึกษานี้จึงเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการ สอนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่อาจนำไปขยายผลสู่รายวิชาอื่น ๆ ได้ในอนาคตthaมหาวิทยาลัยมหิดลBlended learningDietetics educationFlipped classroomNutrition educationSPOCMahidol Quality Fairการใช้งานบทเรียนออนไลน์ Small Private Online Course(SPOC) ในการเสริมสร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ของนักศึกษาโภชนาการและการกำหนดอาหารProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล