พิมลพรรณ อิสรภักดีPimonpan Isarabhakdiบุญเลิศ เลี้ยวประไพมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2015-02-242017-10-252015-02-242017-10-252558-02-242532-01วารสารประชากรและสังคม. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (2532), 187-207.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2958ผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสนทนากับกลุ่มมารดาอายุระหว่าง 15-44 ปี ที่กำลังตั้งครรภ์หรือมีบุตรอายุไม่เกิน 5 ปี ใบชนบทจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ในการเลี้ยงดูทารกอายุ 0-12 เดือน มารดาส่วนหนึ่งยังมีการให้อาหารคาร์โบไฮเดรต (ข้าวย้ำ) ก่อนอายุที่ควรจะให้ ส่วนอาหารโปรตีนให้ช้ากว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ แต่มารดาอีกส่วนหนึ่งมีความรู้และมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูทารกที่ถูกต้อง ยกเว้นในกรณีหนึ่งซึ่งมารดาแทบทุกคนจะมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง คือ เมื่อเด็กเจ็บป่วย ทั้งตัวมารดาและตัวเด็กจะงดอาหารบางอย่างที่เชื่อว่าจะทำให้เด็กมีอาการมากขึ้น การที่ชาวชนบทอีสานมีพฤติกรรมแบบดั้งเดิมเพราะยังคงมีความเชื่อในข้อห้ามเกี่ยวกับอาหารบางอย่าง สภาพด้อยทางภูมิศาสตร์ของภาคอีสาน ทำให้ชาวอีสานต้องสนใจในเรื่องการหาเลี้ยงชีพมากกว่าการหาอาหารมารับประทานในครอบครัว ความยากจนก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องได้ ผู้ที่มีความรู้และปฏิบัติอย่างถูกต้องจะเป็นผู้ที่ไปฝากท้อง และคลอดบุตรกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น การส่งเสริมให้สตรีมีครรภ์ไปฝากท้องจะช่วยให้มารดาได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องยิ่งขึ้นthaมหาวิทยาลัยมหิดลการเลี้ยงดูทารกการบริโภคอาหารการให้อาหารOpen Access articleJournal of Population and Social Studiesวารสารประชากรและสังคมการเลี้ยงดูทารกในชนบท จังหวัดศรีสะเกษ : การวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มInfant feeding in the rural area of Sri Sa-ket province a focus group technique approachArticle