คนางค์ คันธมธุรพจน์วิลาสินี อโนมะศิริวนิพพล มหาอาชาศินารัตน์ โฆสะนันท์ชัย2024-01-092024-01-09256325632567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91967สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเห็น ปัญหาและอุปสรรค ต่อการดำเนินงานตามแนว ทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน และพัฒนาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมที่ประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน แบ่งเป็น เจ้าของโครงการและตัวแทนนิติบุคคลผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อประกอบการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จำนวน 10 คน ผู้แทนจากหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จำนวน 2 คน ผลการศึกษพบว่า การดำเนินงานและกระบวนการพิจารณารายงานปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมที่ประสบความสำเร็จตามแนวคิดของ Tracey Morin Dalton (2005) เรื่อง การตัดสินใจบนพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ (Decisions Based on Complete Information) การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้เข้าร่วมกระบวนการ (Active Participant Involvement) ปฏิสัมพันธ์ทางบวกระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการมีส่วนร่วม (Positive Participant Interactions) และการตัดสินใจที่เป็นธรรม (Fair Decision Making) ทั้งนี้ เจ้าของโครงการให้ข้อมูลและสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพียงรูปแบบเดียว และไม่มีการแจ้งให้ประชาชนได้ทราบว่าความคิดเห็นของประชาชนถูกนำมาปรับปรุงประเมินผลกระทบในรายงานอย่างไร ข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้ คือ เจ้าของโครงการควรเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลโครงการได้อย่างสะดวกด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ใช้เทคนิคการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย และเปิดช่องทางการรายงานความก้าวหน้าของโครงการเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้The purposes of this research were to investigate the opinions toward the implementation of the public participation guidelines of the building projects, land allocation, and community service and to propose the recommendations for successful participation process. The qualitative research method was employed by conducting in-depth interviews with 12 key informants, divided into 10 project owners and the representatives of the juristic person who has the right to make an environmental impact assessment report and 2 representatives from expert review committee for buildings, land allocation, and community service. Research results revealed that the operations and reporting processes were currently not successful in accordance of Tracey Morin Dalton (2005)'s evaluation framework in terms of decisions based on complete information, active participant involvement, positive participant interactions, and fair decision making. The project owners provided information and conducted survey by only one form. Also, the project owners did not inform the public about their opinions were used to improve the impact assessment in the report. Three recommendations were drawn from this research. Firstly, the project owners should provide various channels of information with easy-to-understand language and use various public participation techniques. Secondly, the project owners should inform the public about the progress of report to increase transparency of the project.ก-ญ, 203 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชนการจัดสรรที่ดิน -- การมีส่วนร่วมของประชาชนการมีส่วนร่วมของประชาชนในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชนPublic participation in environmental impact assessment of building construction, land development and community servicesMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล