สุนีย์ ละกำปั่นปาหนัน พิชยภิญโญณัฐนันท์ จันพานิช2024-01-052024-01-05255925592567วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91820การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)ชายวัยทองเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ งานวิจัยเชิงพรรณนานี้ประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเป็นกรอบแนวคิด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยทอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นชายวัยทอง เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 315 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตามโครงสร้างคำถามในแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับปานกลาง (ร้อยละ 73.7) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยทองได้แก่ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ (beta = .553) การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ (beta= .-121) ประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวด้วยโรคเรื้อรัง (beta=.114) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (beta = .093) โดยสามารถร่วมทำนายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยทองได้ร้อยละ 45.1 ( p < 0.001 ) จากข้อค้นพบในการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนหรือบุคลากรสุขภาพ ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มชายวัยทอง โดยการจัดโปรแกรมให้ข้อมูลความรู้เพิ่มการรับรู้ความสามารถแห่งตน และลดการรรับรู้อุปสรรคต่าง ๆMen with andropause are at risk of coronary artery disease. This descriptive research applied Health Belief Model as a conceptual framework in order to explore the coronary artery disease preventive behaviors among men with andropause in Bangkok and its related factors. The participants were 315 men with andropause randomly selected from Prawet District, Metropolitan Bangkok. Data were collected through structured interviews. Data analysis used descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, and multiple regression analysis. The results showed that most men with andropause have moderate level of coronary artery disease preventive behaviors (73.7%). Factors that significantly related to coronary artery disease preventive behaviors among men with andropause were self-efficacy toward coronary artery disease prevention (beta =.553), perceived barriers of coronary artery disease prevention (beta = -.121), history with chronic illness (beta = .114), and information consumption (beta = .093). These factors could be accounted for 45.1% of variance in coronary artery disease preventive behaviors (p < 0.001). Research findings suggested that Community Nurse Practitioner or Health Personnel should consider improving the coronary artery disease prevention behaviors among men with andropause. The prevention program that provide information related to coronary artery disease, enhancing self-efficacy toward prevention practice and reducing barrier perception should be organized and implemented for men with andropause.ก-ญ, 167 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความเชื่อด้านสุขภาพหลอดเลือดโคโรนารีย์, โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์, โรค -- การป้องกันและควบคุมหลอดเลือดโคโรนารีย์, โรค -- ไทย -- กรุงเทพฯปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยทอง กรุงเทพมหานครFactors related to coronary artery disease prevention behaviors among men with andropause in BangkokMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล