สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญกมลพร สอนศรีจิตรลดา อมรวัฒนาศวิตา ประจวบแสง2024-01-232024-01-23255525672555วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93670รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการ ปัญหาและอุปสรรครวมถึงปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนแนวทางที่มีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บังคับการของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา จำนวน 2 คน และข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวนทั้งสิ้น 39 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค จะเริ่มจากการแปลงนโยบายเป็นแผนงานจากคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดสรรอำนาจหน้าที่ และกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อประสานงานระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมทั้งสื่อมวลชนและประชาชน 2) ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ในภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด 3) ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในภาพรวมและราย ด้านพบว่าอยู่ในระดับสูงทั้งหมดก-ฎ, 195 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการนำนโยบายไปปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภคเครื่องสำอาง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535Policy implementation process of the cosmetics act B.E. 2535Master Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล