วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณรัตนาภรณ์ แซ่ลิ้มมาลี คูศรีเทพประทานเสาวลักษณ์ ป้อมบ้านต้าพิชญวดี เทพสุริสุรีย์ภรณ์ แสนทวีสุขสุพัตรา ยอดปัญญาส้มแป้น ศรีหนูขำอลิสา มิฆเนตรเดชา ชุมภูอินทร์เพชรชมพู พึ่งประสพนัฐพงศ์ เข็มทองอารีรัตน์ ต่างศรีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน2021-08-162021-08-162564-08-162561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63120ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 174การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้ QR code ในการบริหารจัดการระบบข้อมูลครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง และความพึงพอใจในการใช้งานของเจ้าหน้าที่ไตเทียมและหอผู้ป่วยวิกฤต โดยการปรับกระบวนการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เปลี่ยนจากการค้นหาข้อมูลในแฟ้มเอกสาร นำมาสู่การสร้างโปรแกรม และลงข้อมูลครุภัณฑ์การแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยการลงข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลประวัติของเครื่องประวัติการใช้งานการซ่อมบำรุง ราคาซ่อม ชนิดของอะไหล่ที่เปลี่ยน เป็นต้น คุรุภัณฑ์ทางการเเพทย์ที่จัดเก็บข้อมูลครั้งนี้เช่น เครื่องไตเทียม เครื่องฟอกเลือดต่อเนื่อง (CRRT) และเครื่องล้างตัวกรอง เครื่องช่วยหายใจ (respirator) ซึ่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ได้รับอนุญาติ และมีรหัสจะสามารถใช้โทรศัพท์มือถือ scan QR code เข้าไปตรวจสอบข้อมูลได้ และผลจากการใช้งานพบว่าสามารถลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลของเครื่องคุรุภัณฑ์ใช้เวลา 17.4 ± 7.5 2 วินาที เมื่อเปรียบเทียบจากเเบบเดิมลดลงมากกว่า 9.6 เท่า เมื่อวัดความพึงพอใจในการใช้งานทั้ง 5 ด้าน ทั้งในด้านการจัดเก็บข้อมูล การค้นหาข้อมูล ความง่ายในการค้นหาข้อมูล ลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลเเละความพึงพอใจโดยรวม พบว่า เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจ 97.1 % เเละในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ประสิทธิภาพของการใช้ QR code มีความน่าเชื่อถือ สามารถป้องกันการสูญหายของข้อมูลโดยมีการ Back up ข้อมูลลงใน server เเละลดภาระงาน ทั้งในด้านการจัดเก็บเอกสารรวมถึงการค้นหาข้อมูลได้thaมหาวิทยาลัยมหิดลQR codeบริหารครุภัณฑ์ทางการแพทย์ไตเทียมหอผู้ป่วยวิกฤตฉับไว ปลอดภัย แม่นยำ ด้วย QR codeProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล