ณฐกร จันทนะวันทนา มณีศรีวงศ์กูลพรรณวดี พุธวัฒนะNathakron ChantanaWantana ManeesriwongulPanwadee Putawatanaมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2020-06-302020-06-302563-06-302562รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 25, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 296-3090858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56880การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ทัศนคติต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และการรักษา การสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านลักษณะการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านยา และปัจจัยด้านสถานบริการกับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานทั้งหมด 75 ราย จากคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างระหว่างกันยายน ถึงธันวาคม พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ทัศนคติต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนานและการรักษา การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมและรายด้าน และความสะดวกในการเดินทางมารับบริการ มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ เพศ สถานภาพสมรสการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่เจ็บป่วย โรคร่วม ชนิดของยา จำนวนเม็ดยา จำนวนมื้อยา อาการข้างเคียงของยา ระยะทางในการเดินทางมารับบริการ ระยะเวลาในการเดินทางมารับบริการ ระยะเวลาในการรอรับบริการ ความสะดวกในการรอรับบริการ และความถี่ของการนัดตรวจรักษาไม่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษามีประโยชน์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พยาบาลควรให้ความรู้และเน้นการปรับทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับวัณโรคดื้อยาหลายขนานและการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาถูกต้องและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนทางสังคมและอำนวยความสะดวกในการเดินทางมารับบริการ เพื่อเพิ่มอัตราการรักษาหายของวัณโรคดื้อยาหลายขนานThe purposes of this descriptive research study were to describe adherence to treatment of multi-drug resistant tuberculosis (MDR-TB), and examine relationships between patient factors, attitude towards MDR-TB and treatment, social support, disease characteristics, medication factors, and clinical setting factors with adherence to treatment of multi-drug resistant tuberculosis (MDR-TB). Purposive sampling was used to recruit a sample of 75 patients with MDR-TB who sought services at Makarak Hospital, Kanchanaburi Province. Data were collected using a structured interview guide from September to December 2017. Descriptive statistics and Chi-Square test were used to analyze the data. The study revealed that attitude towards MDR-TB and treatment, overall and subscales of social support, as well as convenient access to service, had significant relationships with adherence to treatment of MDR-TB. However, age, gender, marital status, education, income, disease characteristics, medication factors, distance to a clinic, traveling time to a clinic, waiting time at the clinic to receive health services, convenience of the clinic, and frequency of appointment visits had no significant relationship with adherence to treatment of MDR-TB. The results of this study are useful for enhancing adherence to the treatment of MDR-TB. Patients should be informed about the proper use of MDR–TB medications and the benefits of adherence to the treatment of MDR–TB. Nurses should educate and motivate patients with positive attitudes towards the treatment of MDR–TB, along with promoting social support and convenient access to services to increase the MDR–TB cure rate.thaมหาวิทยาลัยมหิดลวัณโรคดื้อยาหลายขนานความสม่ำเสมอในการรับประทานยาทัศนคติการสนับสนุนทางสังคมMulti-drug resistant tuberculosisAdherence to treatmentAttitudeSocial supportปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานFactors Related to Adherence to Multi-Drug Resistant Tuberculosis TreatmentArticleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล