พิมลพรรณ เหมืองจาฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญสุคนธา ศิริPimonpan MueangjaChardsumon PrutipinyoSukhontha Siri2024-06-252024-06-252567-06-252566วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2566), 255-2652697-6285 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/98974การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร จำนวน 285 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.56) การรับรู้คุณลักษณะงาน และการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.46 และ 4.21) คุณลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.591 และ r=0.589 โดย p<0.001) ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านสังคม ปัจจัยคุณลักษณะงานด้านความหลากหลายของงาน ปัจจัยคุณลักษณะงานด้านการรับรู้การปฏิบัติงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยคุณลักษณะงานด้านความสำคัญของงาน สามารถรวมทำนายความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครได้ ร้อยละ 50.6 (R2 = 0.506) ดังนั้นผู้บริหารควรมีนโยบายส่งเสริมความสุขในการทำงาน โดยสนับสนุนให้มีกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงานและกำหนดภาระงานที่เหมาะสมกับบุคคลและตำแหน่ง เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานที่เพิ่มขึ้น เกิดความพึงพอใจในงานที่ทำอยู่ เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงานและลดอัตราการขาดงานหรือลาออกจากงานต่อไปThis cross-sectional survey research aims to study the happiness at work among registered nurses working in Public Health Centers, Bangkok Metropolitan Administration. The sample consisted of 285 nurses, selected from 69 Public Health Centers. Data were collected by self-administered questionnaires between October - December 2022. Statistics used for data analysis were percentage, mean, median, minimum, maximum, standard deviation, Pearson’s correlation coefficients, and stepwise regression analysis. The study found that registered nurses had overall happiness at work at a high level. (mean 4.56) Overall, Job characteristics and work environment was at a high level (means 4.46 and 4.21). Job characteristics and working environment had a statistically significant relationship with happiness at work. (r=0.591 and r=0.589, p<0.001) Social work environment, skill variety, feedback, organization work environment and task significant can predict happiness at work among registered nurses working in Public Health Centers, Bangkok Metropolitan Administration was 50.6% (R2 = 0.506, p<0.05) Therefore, administrator should have a policy to promote happiness at work by encouraging activities that create a good atmosphere in the workplace and determine the workload that is suitable for the person and position. To increase the motivation to work job satisfaction. Achieve greater efficiency and reduce the rate of absenteeism or resignation from work.thaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าHappiness at workJob characteristicsWork environmentความสุขในการทํางานคุณลักษณะงานสภาพแวดล้อมในการทํางานพยาบาลวิชาชีพศูนย์บริการสาธารณสุขความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครHappiness at work of nurses in Public Health Centers, Bangkok Metropolitan AdministrationOriginal Articleภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล