เสรี วรพงษ์ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณีเทพนม จันทร์หอม2024-01-232024-01-23255625672556วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93563อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)การศึกษาวิจัยเรื่อง การกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในเคหะสถานของผู้กระทำผิดในเขต กรุงเทพมหานคร : ศึกษาในแนวทางทฤษฎีภาวะปกติวิสัยและทฤษฎีโอกาสในการกระทำผิด ในครั้งนี้มี ความมุ่งหมายที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้กระทำผิดในคดีเกี่ยวกับลักทรัพย์ในเคหะสถาน ตัดสินใจกระทำความผิดโดยอาศัยการอธิบายด้วยปัจจัยทางทฤษฎีอาชญาวิทยา แนวทางและมาตรการใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักทรัพย์ในเคหะสถานโดยอาศัยการแก้ไขตามแนวทางอาชญาวิทยา ซึ่ง ผู้วิจัยอาศัยข้อมูลการศึกษาในลักษณะของข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลเชิงลึกที่ได้ จากการสัมภาษณ์ผู้ต้องโทษในคดีเกี่ยวกับทรัพย์ โดยเฉพาะคดีลักทรัพย์ในเคหสถานซึ่งถูกควบคุมตัวใน เรือนจำพิเศษธนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่กระทำความผิดในพื้นที่เป้าหมายของการศึกษาโดยการได้มา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้เป็นในลักษณะของศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ต้องโทษในคดีเกี่ยวกับ ทรัพย์ โดยเฉพาะคดีลักทรัพย์ในเคหะสถานซึ่งถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษธนบุรี จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Specific sampling) ซึ่งโดยสรุปจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถกล่าวได้ว่า การกระทำผิดในคดีทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักทรัพย์ในเคหะสถานนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยองค์ประกอบตามทฤษฎีอาชญาวิทยาคือ ทฤษฎีภาวะปกติวิสัย (Routine activity theory) และทฤษฎีโอกาสในการกระทำผิด (Rational Choice Theory) โดยอาศัยการบูรณาการองค์ประกอบต่างๆ ของทั้งสองทฤษฎีเข้าด้วยกัน ทั้งจากปัจจัยของ ตัวเหยื่อ ปัจจัยเอื้อจากโอกาส และปัจจัยจากผู้กระทำผิดทั้งแรงจูงใจและการชั่งน้ำหนักและการให้คุณค่า ของการกระทำผิดกับผลที่จะได้รับหากถูกจับกุมThe research of Crime against Property Offenders in Bangkok: Study in Rational Choice Theory and Routine Activity Theory, was to investigate factors affecting home larceny and decision to commit it based on factors of criminological theories, approaches, preventive measures and solutions to home larceny based on criminological solutions. The researcher explored secondary data from related documents and in-depth data collected from interviewing the convicted larceny, prisoners especially home larceny, confined in the Thonburi Special Prison who were the targeted population. A qualitative research was applied using interviews as a tool for its data collection. They were 10 convicted prisoners of home larceny detained in the Thonburi Special Prison selected through specific sampling. In summary, it was found that larceny, in particular home larceny, was explicable with factors of the criminological theories - Routine Activity Theory and Rational choice theory through integrating their elements. They were victims, facilitated opportunity and the offenders with motivation, weight and values of offenses and consequential effects if being apprehended.ก-ฌ, 89 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าอาชญาวิทยา -- ไทย -- กรุงเทพฯการสืบสวนคดีอาญา -- ไทย -- กรุงเทพฯวิจัยเชิงคุณภาพการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในเคหะสถานของผู้กระทำผิดในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาในแนวทางกฤษฎีภาวะปกติวิสัยและทฤษฎีโอกาสในการกระทำผิดCrime against property among offenders in the Bangkok Metropolitan : a study in the rational choice theory and the routine activity theoryMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล