พัฒนาพร สุปินะเสาวนีย์ เนาวพาณิชวิวรรณ ทังสุบุตรSiva BootsriPattanaporn SupinaSaowanee NaowapanichWiwun Tungsubutraมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2022-10-262022-10-262565-10-262564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79970ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 169ภาวะไตวายเฉียบพลันจากสารทึบรังสี (Contrast Induced Nephropathy : CIN) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ภายหลังทาการฉีดสี สวนหัวใจในผู้ป่วยกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Acute Coronary Syndrome : ACS) หากไม่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงและป้องกัน CIN อย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรังต้องได้รับการล้างไตโดยวิธีฟอก เลือดผ่านเครื่องไตเทียม ส่งผลให้ระยะเวลาการเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลนานขึ้น มีความใช้จ่ายมากขึ้น เกิดความผิดปกติ (mordility) และ เพิ่มอัตราการตาย (mortality) ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด เอสทียกมักมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตมากกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจ ชนิดอื่น เช่น ภาวะช็อกจากหัวใจ ภาวะน้ำท่วมปอด หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจ หยุดเต้น เป็นต้น จำเป็นต้องรักษาด้วยการตรวจสวนหัวใจและ/หรือขยาย หลอดเลือดหัวใจ(Percutaneous Coronary Intervention : PCI) แบบ ฉุกเฉิน อีกทั้งความซับซ้อนของหัตถการการเลือกใช้ชนิดและปริมาณสารทึบ รังสี เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิด CIN ทั้งสิ้น รวมถึงข้อจำกัดในการป้องกัน ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันจากสารทึบรังสีทั้งก่อนและหลังทำหัตถการ ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวัง ดักจับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตได้รับบาดเจ็บเชิงรุกและลด การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในที่สุด สามารถลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งเป็นข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาแนวทางการแนวทาง ป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันthaมหาวิทยาลัยมหิดลไตวายเฉียบพลันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยขดลวดไตวายเรื้อรังMahidol Quality FairIncidence and factors associated with contrastinduced nephropathy after emergency coronary angiography and/or percutaneous coronary intervention in patients with ST-segment elevation myocardial infarctionProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล