สุปรียส์ กาญจนพิศศาลสมสิทธิ์ อัสดรนิธีรุจิรา เจริญศักดิ์2024-01-092024-01-09256325632563วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91999จิตตปัญญาศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษามุมมองของการให้ความเสมอภาคทางเพศในชุมชนทางธรรมวัดพระธรรมจักร งานวิจัยนี้เป็นงานเชิงชาติพันธุ์วรรณนาโดยทำการเก็บข้อมูลผ่านวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในบุคคลและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์พบว่าชุมชนทางธรรมวัดพระธรรมจักรให้ความเสมอภาคทางเพศในแง่การให้โอกาสทุกคนในการเรียนรู้การฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและโอกาสในการเป็นอาจารย์ผู้สอน รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันบริหารงานภายในมูลนิธิของวัด ทั้งนี้ การคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญพิจารณาจากความเข้าใจลึกซึ้งในหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กับความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้น โดยไม่จำกัดโอกาสด้วยเพศสภาวะแต่อย่างใด ส่วนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างเพศหญิงและเพศชายในภาพรวม ผู้วิจัยสัมผัสถึงความเมตตากรุณา ความเคารพและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน อันเกิดจากนโยบายการบริหารอย่างเป็นระบบของพระอาจารย์ใหญ่ รวมถึงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีส่วนช่วยขัดเกลาจิตใจของผู้คนในชุมชนทางธรรมอีกทางหนึ่ง ผลสรุปของงานวิจัยนี้สามารถปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างชุมชนทางธรรมที่มีความเสมอภาคทางเพศตามแต่ละบริบทของชุมชนนั้นThis research aims to study the perspective of gender equality in the religion community of Dhammajak Temple. This is an ethnographic research in which data are collected through in-depth interviews with individuals in the temple as well as researcher's participatory observation. The results found that the religious community of Dhammajak Temple offers gender equality in terms of providing an opportunity for everyone to study, practice meditation as well as an opportunity to be an instructor and taking part in the temple's foundation administration. Moreover, the deep understanding of meditation practice together with the suitable expertise for the position were keys factor for the selection of the key position in administration, not condition of gender in any way. For the relationship issues between female and male as a whole, the researcher could sense the touch of clemency, honor and respect among each other. These stem from the systematic management of the headmaster of the temple and also the practice of meditation that helps to refine the minds of people in this religious community. The summarization of this research can be applied to create the religious community with gender equality in accordance to the context of each communityก-ซ, 150 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความเสมอภาคผู้หญิง -- แง่ศาสนาความเสมอภาคทางเพศในชุมชนทางธรรม : กรณีศึกษาวัดพระธรรมจักรGender equality in dhamma community : a case study of Dhammajak templeMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล