กาญจนา ครองธรรมชาติKanjana Krongthammachartอาภาวรรณ หนูคงApawan Nookongกันยารัตน์ วงษ์เหมือนKanyarat Wongmuanมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์2018-09-072018-09-072561-09-072560วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2560), 28-38https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25265วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาล และอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาล กับการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลในหอผู้ป่วยเด็ก จำนวน 103 คน ที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความรู้การพยาบาลด้านจิตสังคม 3) การรับรู้สมรรถนะตนเอง 4) อุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตสังคม และ 5) การปฏิบัติของพยาบาลด้านจิตสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: การรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .28, p < .05) ความรู้และอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตสังคม สรุปและข้อเสนอแนะ: การรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตสังคม หน่วยงานควรมีการส่งเสริมสมรรถนะของพยาบาลในการปฏิบัติด้านจิตสังคม เช่น การฝึกอบรมระยะสั้นการฝึกขณะปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาซับซ้อนPurpose: To study the relationships between knowledge, perceived self-efficacy, and barriers to nursing practice for psychosocial nursing care in hospitalized children. Design: Descriptive correlational research. Methods: The study sample consisted of 103 registered nurses who had experiences more than one year in Pediatric Unit of one tertiary hospital in Bangkok, Thailand. Data were collected using following questionnaires: 1) Personal information, 2) Nurses’ knowledge, 3) Perceived self-efficacy, 4) Barriers to nursing practice, and 5) Psychosocial nursing care. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. Main findings: Perceived self-efficacy of nurses was positively correlated with psychosocial nursing care (r = .28, p < .05), nurses’ knowledge and barriers to nursing practice were not correlated with psychosocial nursing care. Conclusion and recommendations: Perceived self-efficacy is one of the factors supported psychosocial nursing care. The organization should promote nursing competency for psychosocial care with short-course training, on the job training, especially for hospitalized children with complex psychosocial problems. Keywords: nurses’ knowledge, perceived self-efficacy, barriers to nursing practice, psychosocial nursing carethaมหาวิทยาลัยมหิดลการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตสังคมความรู้การพยาบาลด้านจิตสังคมการรับรู้สมรรถนะตนเองอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลJournal of Nursing Scienceวารสารพยาบาลศาสตร์Open Access articleความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาล และอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลกับการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลThe Relationships between Knowledge, Perceived Self-Efficacy, and Barriers to Nursing Practice for Psychosocial Nursing Care in Hospitalized ChildrenArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล