ภัทร์ พลอยแหวนสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญสมศักดิ์ อมรสิริพงศ์กฤษณ์ รักชาติเจริญธนวัฒน์ พจนะ2024-01-092024-01-09256325632567สารนิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91973นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)การวิจัยเรื่องปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 25 มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ในการต่อต้านการทุจริต 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต 4) เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตของสำนัก งานสรรพากรพื้นที่ 25 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างเป็น ข้าราชการ พนักงานราชการ และพนักงานประจำ จำนวน 113 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ระดับการรับรู้การป้องกัน และปราบปรามการทุจริตของสำนัก งานสรรพากรพื้นที่ 25 โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (x = 4.10, SD = .756) ระดับการมีส่วนร่วมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 25 โดยในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (x = 3.42, SD = 1.04) การรับรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 25 ในระดับปานกลาง (r = .482) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และการรับรู้ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 41 (R2 AdJ = .410) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารควรให้ความรู้ในเรื่องแนวทางการต่อต้านการทุจริต เพื่อแสดงให้บุคลากรเห็นความสำคัญของ การรับรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ควรมีการ บูรณาการกัน ระหว่างหน่วยงานในสังกัดหรือหน่วยงานภายนอกที่มีประสบการณ์ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตThe quantitative research aimed to study to the perception of anti-corruption, study the level of participation in anti-corruption, and study the relationship between the perception and participation in anti-corruption. Questionnaires were distributed to the sample groups of 113 people consisting of government officials, government employees, and permanent employees working at the area revenue office 25. The analytical statistics consisted of percentage, frequency, mean, standard deviation, Pearson Product - Moment Correlation Coefficient and multiple regression. The research results found that the level of perception was with the corruption prevention and suppression (x = 4.10, SD = .756) and the participation with the corruption prevention and suppression level (x = 3.42, SD = 1.04) of Bangkok area revenue office 25 were at the high level. The perception with was participation positively correlated with the corruption prevention and suppression of Bangkok area revenue office 25 at a moderate level (r = .482) and the significant level of .0.1. Also, Awareness that affects participation on anti-corruption was predictive at 41 percent (R2 Adj = .410) at a significant level of .05. The administrators should advice knowledge on anti-corruption guidelines to show the staff at the importance of corruption prevention and suppression. There should be integrations between departments of external agencies that have experience about corruption prevention and suppressionก-ญ, 113 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการทุจริตและประพฤติมิชอบ -- การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ -- การป้องกัน -- การมีส่วนร่วมของประชาชนปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตของสํานักงานสรรพากรพื้นที่ 25Perception factor affecting the participation in anti-corruption policy in Bangkok area revenue office 25Master Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล