วาสนา ศรีสุขปรียา ลีฬหกุลจุฑารัตน์ ภัทรเกษวิทย์Wasana SrisukPreeya LeelahagulJutarath Pataragesvitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. งานสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ศูนย์กีฬารามาธิบดี2022-07-212022-07-212565-07-212565รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 45, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2565), 17-270125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72201บทนำ: ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ เนื้อเยื่อไขมันเป็นตัวบ่งชี้ภาวะอ้วนที่แม่นยำมากที่สุด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก ในระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิธีการศึกษา: การศึกษาโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักในกลุ่มบุคลากรคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก ประกอบด้วย 1) การให้คำปรึกษารายบุคคล 2) กิจกรรมกลุ่มการประกอบอาหารสุขภาพเดือนละครั้ง 3) กิจกรรมกลุ่มการออกกำลังกาย 3 วันต่อสัปดาห์ และ 4) การสื่อสารโดยใช้ไลน์กลุ่ม (LINE Group) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติ Paired t test ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 78 คน มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean [SD], 64.8 [13.01] และ 66.6 [13.09] kg ตามลำดับ, P < .05) และมีค่าเฉลี่ยเนื้อเยื่อไขมันน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean [SD], 34.6 [6.93] และ 35.5 [6.97] % ของน้ำหนักตัว ตามลำดับ, P < .05) สรุป: โปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่เน้นรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่มรวมทั้งการสื่อสารแบบกลุ่ม มีประสิทธิภาพให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวได้ดีขึ้นBackground: Overweight and obesity have a negative impact on health. Adipose tissue is the most accurate indicator of obesity. Objective: To study the effectiveness of a weight management program by comparing body weight and adipose tissue before and after joining the program. Methods: A weight control program of the personnel of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, was organized. It consisted of 1) individual counseling, 2) monthly healthy cooking group activities, 3) 3-day weekly exercise group activities, and 4) LINE group communication. The data were collected by a body composition measure and were analyzed, using descriptive statistics and paired t test statistics. Results: A total of 78 participants had lower mean body weight after participating in the program than before participating in the program with significantly statistical implication (mean [SD], 64.8 [13.01] and 66.6 [13.09] kg, respectively; P < .05), and had lower mean adipose tissue than before participating in the program with significantly statistical implication (mean [SD], 34.6 [6.93] and 35.5 [6.97] % of body weight, respectively; P < .05). Conclusions: The weight control program which focused on individuals and group activities as well as group communication was effective, enabling the participants to promote health behavior to better control weight.thaมหาวิทยาลัยมหิดลประสิทธิผลลดน้ำหนักบุคลากรอ้วนEffectivenessWeight lossPersonnelObesityประสิทธิผลของโครงการลดน้ำหนักต่อดัชนีมวลกายและเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายของผู้ที่มีน้ำหนักเกินEffectiveness of a Weight Loss Program on Body Mass Index and Adipose Tissue of Overweight PeopleOriginal Articleงานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลกลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลศูนย์กีฬารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล