เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุลฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุลอาภาศิริ สุวรรณานนท์ญาณิศา พ่วงลาภ2024-01-152024-01-15256025672560วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92734อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทยและพัฒนาตัวชี้วัดความรุนแรงในครอบครัวของประเทศไทย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัว จำนวน 18 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานของรัฐ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานในมูลนิธิหรือหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อหาฉันทามติในการสร้างตัวชี้วัดความรุนแรงในครอบครัวของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 3 ชุด ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามมาตราส่วนการประมาณค่า 5 ระดับ โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 2 ประเภท คือ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า ตัวชี้วัดความรุนแรงในครอบครัวของประเทศไทยที่ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน โดยมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 และมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่ามัธยฐานไม่ต่ำกว่า 3.50 สามารถเเบ่งได้เป็น 16 มิติ 96 ตัวชี้วัด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยเสนอให้เพิ่มประเด็นเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ ประเด็นเกี่ยวกับความรุนแรงทางเศรษฐกิจหรือการเงิน การทารุณสัตว์เลี้ยง หรือทำลายสิ่งของที่มีคุณค่าทางจิตใจ การละเลยสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ไว้ในนิยาม "ความรุนแรงในครอบครัว" ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้ชัดเจน และนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้เพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยเสนอให้นำตัวชี้วัดความรุนแรงในครอบครัวของประเทศไทยที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ไปตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัด และควรมีการพัฒนาตัวชี้วัดในประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องThe objective of this study was to investigate violent contexts in families and to develop indicators for domestic violence using Delphi Technique. Eighteen (18) family affairs administration experts were divided into 3 groups: government sector, scholars, and who work in related foundations or private sectors. Three sets of questionnaires designed with open-ended questions and with 5 points rating scale were used to collect data and the statistics used were Median and Interquartile Range. The result revealed that the experts' points of view toward indicators of domestic violence were congruent with Interquartile Range not above 1.50 indicating high to highest suitability and the median was not lower than 3.50. All of the possible indicators could be divided into 16 dimensions with 96 indicators. Suggested that it is therefore sexual violence, financial abuse, violence to a pet or violence to an object, neglect of family members' health should be added to the definition of Domestic Violence in Domestic Violence Victim Protection Act, B.E.2550 (2007). Father study should be conducted to verify the quality of indicators and continuous development of indicators of violence mentioned and discussed in this study.ก-ฒ, 267 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความรุนแรงในครอบครัว -- ไทยการพัฒนาตัวชี้วัดความรุนแรงในครอบครัวของประเทศไทยThe development of domestic violence indicators in ThailandMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล