ประเสริฐไชย สุขสอาดนักรบ ระวังการณ์วรรณชลี โนริยากันติยา พวงสำลี2024-01-152024-01-15256025672560วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92714การจัดการทางการกีฬา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน ทำการฝึกด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL - BREF - THAI) และแบบประเมินสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายของผู้สูงอายุ (Senior Fitness Test: SFT) แปลผลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test แบบ Pair Sample t-test ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกาย พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับคะแนนของคุณภาพชีวิตโดยรวมก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพทางสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกาย พบว่า ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวของร่างกาย ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นองค์ประกอบของร่างกาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะในการวิจัย : มีการจัดอบรมผู้นำชุมชนหรือตัวแทนให้เป็นผู้นำด้านการออกกำลังกาย สนับสนุนเครื่องออกกำลังกาย จัดประเมินสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุทุก ๆ ปี จัดเจ้าหน้าที่/อาสาสมัครในการออกเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ จัดศูนย์ให้บริการคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ชมรมผู้สูงอายุในชุมชนได้จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ตลอดจนการปรับพื้นที่ใช้สอยประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้สูงอายุให้มีความสะดวกต่อการใช้งานเพื่อลดการเกิดอุบัติแก่ผู้สูงอายุThis research is a study was to study and compare the quality of life before and after practicing exercise program of the elderly people and to study and compare physical fitness before and after practicing in the exercise program of the elderly people in Phasi-Charoen District Bangkok. The sample of this study was the elderly people in elderly Club Phasi-Charoen Bangkok, 30 Purposive sampling. Practicing with the exercise program that has been created by the researcher for 6 months. Through the data collection by the World Health Organization Quality of Life Brief-Thai (WHOQOL-BREF-THAI) and Senior Fitness Test (SFT), data were processed through statistics including mean, standard deviation, and Pair Sample t-test statistic with the significance level of 0.05. The results showed the quality of life of the elderly people indicated that before and after practicing the exercise program, the sample had different mean scores on overall quality of life before and after practicing the exercise program with statistical significance level of 0.05. When individual aspects were considered, the sample had different mean of the quality of life scores on Physical Domain, Psychological Domain, and Social Relationships Domain with statistical significance level of 0.05, except that the sample had indifferent mean score on Environment Domain with statistical significance level of 0.05, it was found that before and after practicing, the sample had different mean scores on Cardiovascular Endurance, Muscular Strength & Endurance and Body Flexibility with statistical significance level of 0.05, except that the mean scores before and after practicing the exercise program on Body Composition were not different with statistical significance level of 0.05. The suggestions of this study include: Setting up the training for the leader in community or the representative for being the leader of exercise aspect, supporting in terms of the exercise machine, arranging the physical fitness assessment for the elderly people annually, arranging the officer/volunteer in visiting the elderly person, setting up the center service for consulting and solving the problem for elderly person, supporting the elderly person for joining the proper recreation activity, promoting the elderly person in community to create the activity in order to relate to the needs, focusing the participation for elderly person including with adjusting the useful space for the elderly person's benefit in order to feel comfortable in using for reducing the accident for elderly person.ก-ฎ, 163 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการออกกำลังกาย -- ในวัยชราการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย -- ไทย -- กรุงเทพฯสมรรถภาพทางกายการจัดการคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานครQuality of life management for elderly in Pasi-Charoen district BangkokMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล