เกศแก้ว โสภณวรกิจชนัตถ์ อาคมานนท์ปัทมา ศิริเวชระวีวรรณ เล็กสกุลไชยมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด2018-04-182018-04-182561-042553วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (2553), 10-191905-8586https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10555วััตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวระหว่างผู้ป่วยจิตเภทกับผู้ที่มีสุขภาพดี วัสดุและวีธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยจิตเภท 19 คน อายุระหว่าง 20-39 ปี ที่มารับบริการที่กลุ่มงานผู้ป่วยนอก สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2553 และผู้ที่มีสุขภาพดี 19 คน ที่จับคู่กับผู้ป่วยจิตเภทในด้าน เพศ อายุ ความสูง และน้ำหนัก ประเมินทักษะการทรงตัวกลุ่มตัวอย่างทุกคนโดยใช้แบบทดสอบการ ทรงตัวทางคลินิกฉบับปรับปรุง ซึ่งเป็นการทดสอบการทรงตัวในท่ายืน 12 ลักษณะ ประกอบด้วยการยืน (ยืนเท้าชิด / ยืนต่อส้นเท้า / ยืนขาเดียว) แบบเปิดตาและปิดตา บนพื้นแข็งและพื้นที่มีความนุ่ม (เบาะ) ในการวิเคราะห์ผลได้ทำการทดสอบการกระจายข้อมูลด้วย Kolmogorov-Sminov Goodness of Fit Test และใช้ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการเสียสมดุลการทรงตัวระหว่างกลุ่ม ผล : ผู้ป่วยจิตเภทมีคะแนนการเสียสมดุลการทรงตัวมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ในการทดสอบการทรงตัวในท่ายืนทุกลักษณะ ยกเว้น การยืนเท้าชิดแบบเปิดตาบนพื้นทั้งสองแบบ และยืนเท้าชิดเปิดตาบนพื้นแข็ง สรุป : ผู้ป่วยจิตเภทมีความสามารถในการรักษาสมดุลการทรงตัวต่ำกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี อาจเนื่องมาจาก ผู้ป่วยจิตเภทมีความผิดปกติของสมองที่รวมถึงความผิดปกติในกระบวนการรับรู้ผ่านระบบประสาทและ การควบคุมการเคลื่อนไหวthaมหาวิทยาลัยมหิดลจิตเภทแบบทดสอบการทรงตัวทางคลินิกฉบับปรับปรุงการทรงตัวในท่ายืนการเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวระหว่างผู้ป่วยจิตเภทกับผู้ที่มีสุขภาพดีวัยผู้ใหญ่โดยใช้แบบทดสอบการทรงตัวทางคลินิกฉบับปรับปรุงComparison of balancing ability between schizophrenic and healthy adults measured by modified clinical test of balanceArticleสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา