อนันต์ สบฤกษ์Anan Sobrerkมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท2020-06-152020-06-152563-06-152549วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 25, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2549), 62-79https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56699งานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรีบยเทียบหลักสูตรด้านดนตรีไทยกับเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย เป็นการศีกษาเปรียบเทียบหลักสูตรด้านดนตรีไทยในสถาบันการศึกษากับเกณฑ์มาตรฐานดนนตรีไทย ในด้านปัญหาและอุปสรรคการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรดนตรีไทย แนวทางการนำเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยไปใช้ในการรจัดทำหลักสูตร รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนในสถาบันศึกษาที่เปิดหลักสูตรการสอนด้านดนตรีไทยเป็นวิชาเอกจำนวน 50 แห่ง ผลการวิจัย พบว่า สถานศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3 ถึงระดับอุดมศึกษาทที่เปิดการเรียนการสอนด้านดนตรตีไทยเป็นวิชาเอกนำเพลงในเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยทั้งเพลงที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เพลงตามเกณฑ์ และเพลงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในระดับชั้นต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียนนการสอน ส่วนการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำแล้วพัฒนาหลักสูตรดนตรีไทย พบว่า สถาบันการศึกษามีปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรตามนโยบายการปฏิรูปหลักสูตรครูของรัฐบาลในขณะที่สถาบันและบุคคลากรยังไม่พร้อม แนวทางการนำเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยไปใช้ในการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาพบว่า ผู้บริหารและอาจารย์ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการนำเกณฑ์มาปรับใช้ในการเรียนการสอน และหลักสูตรของสถานศึกษาส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นตัวกำหนดวิชาทักษะปฏิบัติ แต่บางเพลงไม่ได้นำมาใช้ในการเรียนการสอน ทั้งที่เป็นเพลงที่มีประโยชน์ เนื่องจากเป็นเพลงที่มีผู้ถ่ายถอดได้น้อย จึงสมควรที่จะต้องจัดทำสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่ในสถาบันที่เปิดหลักสูตรดนตรีไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านดนตรีไทยthaมหาวิทยาลัยมหิดลหลักสูตรเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยThai classical musicThai classical music standardวารสารภาษาและวัฒนธรรมJournal of Language and Cultureการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรด้านดนตรีไทยกับเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยResearch Articleสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล