ปริยศ กิตติธีระศักดิ์Priyoth Kittiteerasackจินต์ณาภัส แสงงามJinnaphat SangngamAlicia K. Matthewsมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์2019-06-252019-06-252562-06-252561วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 36, ฉบับที่ 1 (ม.ค - มี.ค 2561), 4-16https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44155เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ (gender variant children) หมายถึงเด็กที่รับรู้เพศของตนเองแตกต่างออกไปจากเพศสรีระทางร่างกายซึ่งอาจเป็นคนข้ามเพศ (transgender) คนที่อยู่นอกระบบเพศแบบชาย/หญิง (non-binary)หรือคนที่มีเพศไม่สอดคล้องกับเพศที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด (gender non-conforming) เหล่านี้ถือว่าเป็นกลุ่มเด็กที่มีความเปราะบางและต้องการการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งพวกเขามักจะได้รับการถูกตีตราและการเลือกปฏิบัติอันเกิดจากการที่สังคมขาดความเข้าใจ แต่กลับพบว่าองค์ความรู้และระบบพื้นฐานการดูแลที่มีนั้นยังไม่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของเด็กกลุ่มนี้ อีกทั้งข้อมูลในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และการดูแลเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศยังคงมีจํากัด เหล่านี้จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทําให้เด็กมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพหรือทําให้ปัญหารุนแรงขึ้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในนิยามที่ใช้อธิบายความแตกต่างทางเพศในกลุ่มเด็ก เพื่อเน้นให้ทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของประชากรกลุ่มนี้ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการและการดูแลแก่เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศสําหรับพยาบาลเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยGender variant children including transgender, non-binary and gender non-conforming children represent a significant minority of children requiring proper care from child and adolescent nurses in Thailand. Most of them experience stigmatization and discrimination regarding the lack of social understanding. However, the fundamental knowledge and basic care systems mismatch the corresponding needs of the gender variant children contexts. Also, scant information is available regarding the physical, emotional and psychosocial needs of these children and their care-providers. These limitations induce the high-risk behavior impacting health outcomes or progressing worse health conditions. The purpose of this article is to provide a definition of gender variance in children, to highlight the known physical and mental health care needs of this population, and to provide recommendations for improving the services and care of these children by pediatric nurses in Thailand.thaมหาวิทยาลัยมหิดลเด็กวัยรุ่นความหลากหลายทางเพศภาวะสุขภาพคนข้ามเพศchildadolescentgender variancehealth statustransgenderJournal of Nursing Scienceวารสารพยาบาลศาสตร์หลักพื้นฐานของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตและจิตสังคมในเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยThe Fundamentals of Child and Adolescent Nursing in Improving Mental and Psychosocial Health among Gender Variant Children in ThailandArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล