ฉวีวรรณ อยู่สำราญนันทนา ธนาโนวรรณบุหงา มะนาวหวาน2024-01-222024-01-22255825672558วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์ขั้นสูง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93420การผดุงครรภ์ขั้นสูง (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของอายุ การศึกษา การสนับสนุนทางสังคม การย้ายถิ่นและ การเข้าถึงบริการสุขภาพต่อการฝากครรภ์ในมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 295 ราย เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และการย้ายถิ่น แบบบันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการเข้าถึงบริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษาพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การย้ายถิ่น และการเข้าถึงบริการสุขภาพสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 31.9 (R2 = 0.319, p < .05) จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรให้การสนับสนุนทางสังคมโดยเฉพาะในมารดาย้ายถิ่นที่มีปัญหาการสื่อสารโดยใช้ล่ามมาช่วยอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการฝากครรภ์ และมีแนวปฏิบัติการเชิงรุกในการรับฝากครรภ์ในแหล่งชุมชนที่ตั้งอยู่ห่างจากสถานบริการ รวมถึงมีระบบที่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการโดยเปิดให้บริการในคลีนิกฝากครรภ์นอกเวลา เพื่อให้มารดาสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายส่งผลให้มารดามาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์The present study aimed at investigating predictive power of age, education, social support, migration, and access to health services to predict antenatal services in postpartum mothers. The study sample consisted of 295 postpartum mothers at Magarak Hospital in Kanchanaburi Province. Data were collected using the personal data and migration interview protocol, the pregnancy and delivery record form, the social support questionnaire, and the access to health services questionnaires. Data were analyzed by means of descriptive statistics of percentage, mean, standard deviation, as well as logistic regression analysis. The study findings revealed that social support, migration, and access to health services could co-predict antenatal services in postpartum mothers by 31.9% (R2 = 0.319, p < 0.05). Based on the study findings, it is recommended that nurses should provide social support to pregnant women, especially those who have history of migration or who have communication problems, with the use of an interpreter to facilitate their access to antenatal care services. In addition, nurses should have a proactive practice guideline to reach out to pregnant women in the community who have problems traveling to a healthcare setting to receive antenatal care by offering mobile antenatal care services in the community. Finally, there should be a system that facilitates pregnant women who find it inconvenient to have antenatal visits during regular working hours by offering after-hour antennal care services so as to ensure that these pregnant women are able to complete their antenatal visits.ก-ฌ, 151 แผ่น : ตาราง, แผนภูมิapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการฝากครรภ์การสนับสนุนทางสังคมมารดาหลังคลอดอายุ การศึกษา การสนับสนุนทางสังคม การย้ายถิ่น และการเข้าถึงบริการสุขภาพในการทำนายการฝากครรภ์ในมารดาหลังคลอด : การศึกษาย้อนหลังAge, education, social support, migration, and access to health service predicting antenatal visits in postpartum mothers : retrospective studyMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล