ณัฐธิดา ช่วยบุญชูยุวนุช สัตยสมบูรณ์ศริยามน ติรพัฒน์ศรัณญา เบญจกุลNathida ChuaybunchooYouwanuch SattayasomboonSariyamon TiraphatSarunya Benjakul2025-04-092025-04-092568-04-092567วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 10, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2567), 521-5322697-6285 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109395การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 11 กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 225 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคร์สแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ < 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.1 อายุ 40-59 ปี ร้อยละ 50.6 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 92.0 ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 82.2 ระยะเวลาปฏิบัติงานใน รพ.สต.ปัจจุบัน 1-5 ปี ร้อยละ 50.7 ประสบการณ์ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1-5 ปี ร้อยละ 53.3 ภาพรวมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคฯอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง ร้อยละ 75.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (p-value<0.005) ปัจจัยจูงใจ (p-value <0.001) ปัจจัยค้ำจุน (p-value =0.025) กระบวนการบริหาร (p-value <0.001) และทัศนคติต่องานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (p-value =0.001) ข้อเสนอแนะจากผลวิจัยเพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานมีระดับสูงเพิ่มขึ้น ผู้บริหารเขตสุขภาพที่ 11 อาจพิจารณามาตรการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงาน กระบวนการบริหาร และทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลThis study was a cross-sectional descriptive study aiming to analyze the factors associated with the consumer protection on health products performance among public health officers in sub-district health promoting hospitals, in Health Region 11. The sample comprised of 225 officers, responsible for consumer protection related to health products at sub-district health promoting hospitals. Data collection by using a questionnaire, and analyzed with descriptive statistics and chi-square test, with a statistical significance level set at p < 0.05. The research results showed that the sample group consisted of 83.1% females, aged 40-59 years. Additionally, 50.6% had a bachelor degree, and 92.0% held an academic position in public health. Regarding their tenure, 82.2% had worked at their current Sub-District Health Promoting Hospital for 1-5 years, with 50.7% of them having 1-5 years of experience in consumer protection for health products. Overall, the consumer protection performances were at a low to moderate level (75.6%). The factors significantly association with the level of officers’ consumer protection performances were the motivation to work (p-value=0.005), the motivation factors (p<0.001), the hygiene factors (p-value=0.025), management process (p<0.001), and the attitude (p=0.001) respectively. Based on the research results, it is suggested that administrators in Health District 11 may consider implementing measures to enhance work motivation, improve administrative processes, and foster a positive working attitude among officials responsible for consumer protection of health products in the Sub-District Health Promoting Hospitals.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าคุ้มครองผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขตสุขภาพที่ 11Consumer ProtectionHealth ProductsSub-District Health Promoting HospitalHealth Region 11การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 11Consumer Protection Performance on Health Products among Health Personnel at Sub-District Health Promoting Hospitals, Health Region 11Original Articleภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล