ประเสริฐ ประสมรักษ์อิสระพงศ์ โพธิ์สุขPrasert PrasomrakIssarapong Phosukมหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ2021-06-302021-06-302564-06-302561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62814ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 76การฝึกปฎิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุข เป็นรายวิชาที่มุ่งบูรณาการองค์ความรู้สู่การทักษะวิชาชีพและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ด้วยกระบวนการ PDCA ในปี 2559-2560 นักศึกษาจำนวน 23 และ 36 คน ตามลำดับเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความพึงพอใจ และแบบนิเทศวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติวิชาชีพสาธารณสุข ประกอบด้วย ขั้นที่ 1) ปรับฐานการวิจัยโดยฝึกปฏิบัติการทำวิจัยรายกลุ่ม มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดูแลใกล้ชิด 2) เพิ่มความเข้มข้นกระบวนการเตรียมฝึก โดยการสอนเสริมด้านการจัดการชุมชนและการวิจัย 3) เติมพลังการฝึกปฏิบัติด้านวิจัยและวิชาชีพ 4) ชูศักยภาพให้โดดเด่นโดยเผยแพร่ผลงานทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย ส่งผลให้มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ มีนวัตกรรมที่ใช้ต้นทุนในชุมชน ผลงานได้รับการเผยแพร่ในเวทีวิชาการ ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพให้จัดการสุขภาพ นักศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นthaมหาวิทยาลัยมหิดลการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุขบัณฑิตที่พึงประสงค์การจัดการเรียนการสอนการจัดการสุขภาพสาธารณสุขMahidol Quality Fairการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุข สำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4Proceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล