สุนันทา ตั้งปนิธานดีอรดี จริตควรมหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. ฝ่ายการพยาบาล2018-04-262018-04-262561-04-262556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11022หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. ณ ห้องประชุมศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G นครปฐม, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2 เมษายน 2556. หน้า 216-234การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานวัตกรรมที่พยาบาลคิดค้นขึ้น เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานประจำวันให้มีประสิทธิภาพ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” ต่อระยะเวลาการตรวจคลื่น ไฟฟ้าหัวใจและความพึงพอใจของพยาบาล ที่หน่วยตรวจโรคทั่วไป 1 ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัย มหิดล ทำการศึกษาในผู้รับบริการผู้ป่วยนอกที่ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2555 และกลุ่มเจ้าหน้าที่พยาบาลที่เป็นผู้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยจำนวน 10 ราย เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experimental research design) ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการตรวจคลื่น ไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยแต่ละราย หลังการใช้นวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” ( = 281.80, S.D. = 15.978) ลดลงกว่าก่อนพัฒนานวัตกรรม ( = 349.94, S.D. = 18.537) เมื่อทดสอบด้วยสถิติที (t-test) พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สำหรับระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่พยาบาลต่อการใช้นวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” พบว่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจหลังการพัฒนา ( = 4.40, S.D. = .516) เพิ่มมากกว่าก่อนพัฒนา ( = 3.10, S.D. = .568) และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สรุป นวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” ที่พยาบาลคิดค้นขึ้น เพื่อจัดเก็บสายอิเลคโทรดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่อง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถลดระยะเวลาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเพิ่มความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ งาน ผลงานนี้ช่วยกระตุ้นบุคลากรในหน่วยงานทุกระดับให้เห็นขั้นตอนการทำ R2R ซึ่งไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่เป็นการแก้ปัญหางานประจำที่ทำทุกวันให้ดีขึ้น ผลงาน “ผ้ากันยุ่ง” เป็นแรงกระตุ้นให้พยาบาลคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยเสริมการดูแลผู้รับบริการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และรู้สึกภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานthaมหาวิทยาลัยมหิดลนวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง”ระยะเวลาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่พยาบาลประสิทธิผลของนวัตกรรม “ ผ้ากันยุ่ง ” ต่อระยะเวลาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความพึงพอใจของพยาบาลEfficacy of Pa-gun-yung Innovation on the Time Spent for 12 – lead ECG and Nursing Staff SatisfactionProceeding Articleศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล