เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ลือชัย ศรีเงินยวงณัฐณีย์ มีมนต์วัชระ เกษทองมา2024-01-152024-01-15256125672561วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92743สังคมศาสตร์และสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความทุกข์เชิงสังคมของเกษตรกรชาวไร่อ้อยจากการใช้สารเคมี 2) ศึกษาหาเหตุปัจจัยของการยึดติดกับการใช้สารเคมีของการเกษตรกรชาวไร่อ้อยและ 3) เพื่อศึกษาถึงวิธีการหาเลือกใหม่แทนการใช้สารเคมีของเกษตรกรชาวไร่อ้อย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ใช้สารเคมีทางการเกษตร และได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายจิตใจในมิติเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย จำนวน 30 คน ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรที่เป็นรากเหง้าปัญหาหลักคือ "หนี้สิน" ที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จากสภาพสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับผลกระทบในลักษณะความทุกข์เชิงสังคมที่เด่นชัด ซึ่งแบ่งออกเป็ น 2 มิติ ได้แก่ 1) มิติทางกายภาพ คือ สามารถเห็นจากปรากฏการณ์ที่เกษตรกรเกิดการเจ็บป่วย ความอิดโรย และมีอาการซึมเศร้า 2) มิติทางจิตใจ คือ เกษตรกรมีความเชื่องซึม เครียด หดหู่ และกังวล ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยังคงต้องใช้สารเคมีเพื่อทำการเกษตรเนื่องมาจาก 1) ภาครัฐคงสนับสนุนส่งเสริมให้มีการใช้สารเคมีเพราะ (ก) นโยบายแห่งรัฐ เช่น การขยายพื้นที่การเพาะปลูก (Zoning) ทางการเกษตรการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการจัดสวัสดิการกองทุนกู้ยืมต่างๆ (ข) การผูกขาดและวางหลักประกันต่างๆ เช่น การให้เช่าพื้นที่ กระจายวงเงินการกู้ยืมโดยวางหลักประกันที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นๆ 2) ภาคเอกชนสร้างแรงจูงใจที่ ทำให้เกษตรกรใช้อย่างต่อเนื่อง แรงจูงใจมาจากหลายปัจจัย เช่น จากโฆษณาชวนเชื่อ การคำแนะนำของเพื่อนบ้านราคาในการซื้อ ขายเงื่อนไขต่างๆ และประสบการณ์ของตัวเอง สำหรับวิธีหาทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ส่วนใหญ่ พบว่า มีความต้องการที่อยากจะใช้ชีวิตที่พอเพียงโดย (1) การทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่สามารถได้เงินก้อนและปลดหนี้ได้ (2) ทำเกษตรแบบพอเพียงโดยการปลูกพืชผสมผสาน (3) การปรับสภาพการดำรงชีวิตที่พอดี พอเพียงและสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตและครอบครัวให้มีความสุขThe objectives of this case study research were 1) to study the social suffering among sugarcane farmers from chemical usage, 2) to study the factors related to the use of chemicals by sugarcane farmers, and 3) to study selection of new alternatives instead of chemical usage by sugarcane farmers. This qualitative research collected data by in-depth interviews and focus group discussions concerning the use of agricultural chemicals with a total of 30 key informants who were sugarcane farmers from the Northeastern region of Loei province, Thailand and have been affected both physically and mentally in the health, economic social and environmental dimensions. The study found that the main problem of the root cause was the debt that was growing. From the current social situation, especially among sugarcane farmers, the impact of the social suffering was pronounced. 1) For physical dimension, farmers' suffering could be seen from the phenomena of disease, illness, loneliness and depression. 2) Mental dimension showed the farmers were tired. The factors that make sugarcane farmers still need chemicals for agriculture were: 1) the government continues to encourage the use of chemicals because of (A) government policies, such as expanding the area, zoning, agricultural registration, farmer registration and welfare fund lending, and (B) Monopoly and placing assets up of collateral such as renting space, and 2) private sector creates incentives for farmers to use chemicals continuously. Motivation came from many factors, such as from propaganda, the advice of neighbors, purchase price Selling conditions and own experience. For alternative ways, most of the sugarcane farmers wanted to live sufficiently without using chemicals in their farms. They wanted to grow crops using monoculture farming system that will help them earn enough money without debt, self-sufficiency farming system and mixed farming system in order to have a stable life with a family with sufficient incomeก-ซ, 145 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าชาวสวน -- ผลกระทบจากยากำจัดศัตรูพืชหนี้ความทุกข์สารเคมีทางการเกษตรความทุกข์เชิงสังคมของเกษตรกรชาวไร่อ้อยจากการใช้สารเคมีSocial suffering among sugarcane farmers from chemical usageMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล