หิมพรรณ รักแต่งามชัชวาลย์ ศิลปกิจชรรินชร เสถียร2024-01-162024-01-16255825672558วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92873จิตตปัญญาศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าความเป็นแม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตภายในของผู้วิจัยอย่างไร และเพื่อทบทวนกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาที่พาให้กลับมาเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ผู้วิจัยเลือกใช้กระบวนทัศน์การทำงานวิจัยแบบทัศน์ 1 (First Person Research) ด้วยรูปแบบวิธีการทำงานวิจัยเชิงอัตชีวประวัติ (Autobiographical Research) ผสมผสานกับการทำงานวิจัยแบบเรื่อง-เล่า (Narrative Inquiry) โดยมี "ฉัน" ในฐานะผู้วิจัยตัวเองเป็นผู้ดำเนินเรื่อง ผู้วิจัยพบว่ามุมมองความเป็นแม่ของผู้วิจัยมีที่มาจากมุมมองความเป็นลูกที่ตัวเองเคยคับข้องในวัยเด็ก การสืบค้นด้วยสติที่ได้กลับไปปรับความเข้าใจใหม่ในมุมมองของความเป็นลูกที่เคยเป็น ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงมุมมองความเป็นแม่ของตัวผู้วิจัยเอง และทำให้ผู้วิจัยปรับเปลี่ยนทัศนคติจากการยึดมั่นในตนเองสูงมาเป็นการศรัทธาและวางใจในการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องทั้งภายในตนเองและในความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งเกิดความตระหนักในคุณค่าของตัวเองโดยไม่ต้องยึดบทบาทความเป็นแม่เพื่อยืนยันคุณค่านั้นอย่างที่เคยเป็น ในส่วนของกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ผู้วิจัยใช้สติเป็นพื้นฐานสำคัญ การทำงานของสติทำให้ผู้วิจัยสามารถรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นกลาง ไม่สั่นคลอนไปกับความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ จึงช่วยส่งผลต่อการเกิดปัญญาที่เข้าใจถูกต้อง ปัญญาเช่นนี้ไม่ได้มาจากการนึกคิดด้วยตรรกะเหตุผล หากมาจากการที่รู้และสัมผัสได้ถึงความหมายของความรู้สึกที่ลึกลงไปในจิตใจ ผลที่ได้รับจากกระบวนการวิจัยจึงเป็นความเข้าใจใหม่ที่ได้ชำระเปลือกของความยึดมั่นบางอย่างที่เคยมี จนกระทั่งได้สัมผัสกับศรัทธาในชีวิตและสามารถวางใจกับชีวิตที่จะดำเนินต่อไปอย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้นThis research aimed to study how motherhood impacted the researcher's transformation and to review contemplative education approach which focused on mindfulness of self-inquiry. The First Person Research paradigm methodology which employed autobiographical research and narrative inquiry was used. The researcher used I dialogue as the narrator throughout. From this study, the researcher found that her standpoint of being a mother originated from her standpoint of being a suffering child in the past. The process of this mindful investigation led to her acquiring of a new understanding of her childhood in the past and a new understanding of being a mom at present. It also transformed her perspective from strong egoism to faith in living life congruently, both internally and among relationships with others. She also discovered self-worth. In the contemplative education approach, the researcher used mindfulness as a fundamental process. Mindfulness encouraged her to perceive those experiences firmly, not shaken by any positive or negative sensations. This brought in a non-intellectually developed wisdom. It was wisdom developed from the knowing and the deep meaning of awareness. So, the result from this research was a new comprehensive understanding on the basis of minimizing exaggerated egoism, hence establishing faith in living life with trust.ฎ, 189 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าชีวิตทางจิตวิญญาณ -- พุทธศาสนาการเป็นมารดาจิตตปัญญาศึกษาการเติบโตภายในบนเส้นทางความเป็นแม่ของฉันThe inner growth through the path of my motherhoodMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล