พรพิรุณ ฝึกศิลป์สุธางค์ ตัณทนาวิวัฒน์กาญจนา เนียมรุ่งเรืองภาพวิจิตร เสียงเสนาะPornpiroon PhuegsilpSutang TantanavivatKanjana Niemrungruangมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบาบัด. ศูนย์กายภาพบำบัด2022-08-312022-08-312565-08-312564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79471ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 92ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการฟื้นตัวที่ลดลงหลัง 6 เดือน และคงยังต้องการพัฒนาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อให้ กลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงปกติที่สุด การให้โปรแกรมออกกำลังกาย กลับไปทำเองที่บ้านเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระดับความสามารถทั้งการเดินและการทรงตัว ทั้งยังเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาชุดท่าออกกำลังกายที่ บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง ซึ่งประกอบท่าออกกำลัง กายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ ช่วยเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกล้าม และกล้ามเนื้อขา 7 ท่า และท่าออกกำลังกายแบบจำเพาะเจาะจง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายโดยการ ทำกิจกรรมที่ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการฝึก 7 ท่า และมีการตรวจสอบความ เที่ยงตรงของเนื้อหา หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับท่าออก กำลังกาย ในการส่งเสริมความสามารถในการเดินและการทรงตัว และมีความ ปลอดภัยที่จะนาไปใช้ออกกำลังกายที่บ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ใน การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 5 ท่าน ผลการศึกษาพบว่าท่า ออกกาลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและขา มีความสอดคล้องกับ จุดประสงค์ ท่าออกกำลังกายแบบจำเพาะเจาะจง มีการส่งเสริมความสามารถ ในการเดินและการทรงตัวทุกท่า อีกทั้งมีความปลอดภัยที่จะออกกำลังกาย ด้วยตนเอง 6 ท่า แต่ยังไม่ปลอดภัย 1 ท่าthaมหาวิทยาลัยมหิดลโปรแกรมออกกำลังกายออกกำลังกายที่บ้านโรคหลอดเลือดสมองMahidol Quality Fairการพัฒนาชุดโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล