Somsonge BurusphatWeera OstapiratNaraset PisitpanpornZirivarnphicha Thanajirawat2023-09-052023-09-05201020102023Thesis (Ph.D. (Linguistics))--Mahidol University, 2010https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89325วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาระบบเสียงภาษาจีนถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย และ แสดงการกระจายของภาษาจีนถิ่นต่าง ๆ รวมทั้งแสดงรูปแบบของการอพยพของคนไทยเชื้อสาย จีนถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย การวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาทั้งหมด 50 จังหวัด จำนวน 136 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ภาษาจีนถิ่นในประเทศไทยประกอบไปด้วย 8 ถิ่น ซึ่งสามารถ รวมกลุ่มตามภาษาจีนกลุ่มใหญ่ได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มแมนดาริน ได้แก่ ภาษาจีนหยุนหนาน กลุ่มที่ 2 กลุ่มฮากกา ได้แก่ ภาษาจีนฮากกา(แคะ) กลุ่มที่ 3 กลุ่มเย่ว์หรือกวางตุ้ง ได้แก่ ภาษาจีน กวางตุ้ง และภาษาจีนกวางไส กลุ่มที่ 4 กลุ่มมิน ได้แก่ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนไหหลำ ภาษาจีน ฮกเกี้ยน และภาษาจีนฮกจิว ระบบเสียงของภาษาจีนถิ่นแต่ละถิ่นซึ่งประกอบไปด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มีความแตกต่างและคล้ายคลึงกันตามถิ่นที่มาของแต่ละภาษา สามารถสรุปได้ ดังนี้คือ พยัญชนะของภาษาจีนถิ่นในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 17 หน่วยเสียง 18 หน่วยเสียง และ 19 หน่วยเสียง สระจะมีหน่วยเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภาษา แต่สระ /i, a, u / พบในทุกภาษา สำหรับหน่วยเสียงวรรณยุกต์สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 4วรรณยุกต์ 5วรรณยุกต์ 6วรรณยุกต์ และ 7วรรณยุกต์ การอพยพโยกย้ายของชาวจีนถิ่นต่าง ๆ เข้ามายังประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงที่ 1 ระยะเวลาระหว่างศตวรรษที่ 17-สงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะ เป็นชาวจีนที่อาศัยอยู่ทางใต้ของจีน คือ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว ฮากกา ฮกจิว ไหหลำ กวางตุ้งและกวาง ไส ช่วงที่ 2 ระยะเวลาระหว่างสงครามกลางเมืองในประเทศจีน(1945-1949) กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะ เป็นชาวจีนหยุนหนานที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนxxiii, 373 leaves : ill., mapsapplication/pdfengChinese language -- DialectsChinese language -- PhonologyChina -- Emigration and immigrationThe phonological characteristics of Chinese dialects in Thailandลักษณะของระบบเสียงภาษาจีนถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยMahidol University