อมรรัตน์ ภู่นครสมชัย ตระการรุ่งAmornrat PhunakhonSomchai Trakarnrungมหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย2021-08-112021-08-112564-08-112561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63098ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 156การศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตลอดจนปัญหา และอุปสรรคของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลที่ปฏิบัติงานในวิทยาเขตศาลายา และบัณฑิตวิทยาลัยสาขาทุกสาขา จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำถามปลายเปิด และ การสอบวัดความรู้หลังการเรียนรู้ ผลการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษแตกต่างกัน โดยบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีระดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับต้น 2) ระดับกลาง และ 3) ระดับสูง โดยในด้านความถี่การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยที่ปฏิบัติงานในส่วนของการให้บริการ Front office มีการใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน ทั้งนี้หลังการเรียนรู้บัณฑิตวิทยาลัยสนับสนุนให้บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยสอบวัดความรู้ MU Grad test และ TOEIC โดยบัณฑิตวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายให้บุคลากรสอบผ่านร้อยละ 30 ต่อปี พบว่า ในปี 2560 มีบุคลากรสอบผ่านร้อยละ 33.59thaมหาวิทยาลัยมหิดลการพัฒนาทักษะทักษะภาษาอังกฤษแบบสอบถามภาษาอังกฤษในการสื่อสารการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล