อิสระ ชูศรีโสภนา ศรีจำปาอัญชลี ภู่ผะกาสิริศิระ โชคทวีกิจ2024-01-162024-01-16255825672558วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92889ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบทัศนคติเรื่องความเป็นกวีนิพนธ์ (Poeticity) ของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาไทยกับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ โดยการใช้ แบบสอบถามซึ่งออกแบบและสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดมิติทางภาษาศาสตร์ของความเป็นกวีนิพนธ์ของ Tung (1994) และนำผลข้อมูลมาแปรเป็นค่าทางสถิติเพื่อนำไปแปล วิเคราะห์ เปรียบเทียบ สรุปผล ด้วยการอธิบายเชิง พรรณนาและเชิงทฤษฎี ซึ่งผู้วิจัยนำทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน (Reader response theory) และแนวทางภาษาศาสตร์เชิงประจักษ์ (Empiricism) มาใช้อภิปรายผลตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ที่ว่า นักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาไทยมี การรับรู้และการตัดสินความเป็นกวีนิพนธ์ของบทร้อยกรองอิสระที่จำกัดกว่านักศึกษาสาขา ภาษาต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1) นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยมีทัศนคติต่อบทร้อยกรองฉันทลักษณ์ด้านภาษาและเนื้อหาคิดเป็น 73.749 % และ 73.749 % ขณะที่นักศึกษาสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คิดเป็น 72.083 % และ 83.33 % 2) นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยมีทัศนคติต่อบทร้อยกรองอิสระด้านภาษาและเนื้อหาคิดเป็น 67.916 % และ 80.833 % ขณะที่นักศึกษาสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คิดเป็น 72.083 % และ 80.000 % 3) ผลการศึกษาขัดแย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีการรับรู้และการตัดสิน ความเป็นกวีนิพนธ์ของบทร้อยกรองอิสระได้ใกล้คียงกันนอกจากนี้ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ทั้งนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยและสาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้แสดงทัศนคติต่อบทร้อยกรองอิสระทางด้านเนื้อหาได้ใกล้เคียงกันมากเมื่อเปรียบเทียบทัศนคติด้านเนื้อหากับด้านภาษา นักศึกษาทั้งสองกลุ่มยังแสดงทัศนคติด้านเนื้อหาสูงกว่าด้านภาษาอีกด้วยThe objective of this study was to survey and compare the attitudes on poeticity of free verse between undergraduate students majoring in Thai and those majoring in foreign languages. The hypothesis was that the Thai-major students were more confined to the poeticity of free verse than their counterpart, and this was examined by Reader response theory and Empiricism. In this study, a questionnaire was used which was developed from Tung (1994)'s Four Linguistic Spaces of Poetry. The data was calculated into statistical values in order to produce interpretation, analysis, comparison and conclusion by means of descriptive and theoretical descriptions. The results were as follows: 1) The attitudes of Thai-majoring undergraduate students towards language and content in metical verse were high (73.749 % and 73.749 % respectively), and those of foreign language-majoring undergraduate students were high (72.083 % and 83.333 % respectively). 2) The attitudes of Thai-majoring undergraduate students towards language and content in free verse were somewhat high (67.916 %) and high (80.833 % respectively), and those of foreign language-majoring undergraduate students were high (72.083 % and 80.000 % respectively). 3) The hypothesis was proved incorrect that is, both of the undergraduate students majoring in Thai and those in foreign languages had similar levels of their reception and evaluation for the poeticity of free verse. Furthermore, this research also demonstrated that both two groups had very similar levels of attitudes towards content in free verse. When compared to the level of attitudes towards language, that towards content was significantly higher.ก-ฌ, 132 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าซะการีย์ยา อมตยา, 2518-ทัศนคติฉันทลักษณ์ทัศนคติของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับความเป็นกวีนิพนธ์ในบทร้อยกรองอิสระเรื่อง ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ของซะการีย์ยา อมตยาAttitudes of undergraduate students majoring in Thai and foreigh languages about the poeticity of Thai free verse titled No Women in Poetry by Zakariya AmatayaMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล