อาภาวรรณ หนูคงสมสิริ รุ่งอมรรัตน์ณัฐ มาลัยนวลณฐมน สีธิแก้ว2024-01-222024-01-22255925672559วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93356การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และปริมาณไรฝุ่น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองของเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จำนวน 21 คน และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 11 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมฯ และแบบบันทึกปริมาณไรฝุ่น การศึกษาครั้งนี้ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb (1984) โปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การเรียนรู้ผ่านการสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติจริงและติดตามผลการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Signed-rank test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และปริมาณไรฝุ่นภายในบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001 และ p < .05 ตามลำดับ) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น และมีพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมากขึ้น ทำให้ปริมาณไรฝุ่นลดลง ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมThis quasi-experimental research was aimed at studying the effect of an environmental management program on knowledge and behavior of parents and daycare staff and house dust mites. The sample consisted of 2 groups, 21 parents of children at risk for allergic rhinitis and 11 daycare staff. Data were collected by using environmental management knowledge and behavior questionnaires, the environmental assessment checklist, the record form for telephone support and house dust mites. This study employed Kolb's experiential learning theory (1984). The environmental management program consisted of learning through assessment of home and the daycare center environment, reflection with the sample, development of the guideline for environmental management and implementation of the guidelines at home and the daycare center, with telephone support by the researcher. Data were analysed with descriptive statistics and Wilcoxon Signed-rank test. The results revealed that parents had higher scores for knowledge and behavior in environmental management with a statistical significance (p < .05). Daycare staff had higher scores for behavior in environmental management with a statistical significance (p < .05), finally leading to statistical significance in reducing house dust mites at home and in the daycare center. (p < .001 and p < .05). Therefore, the environmental management program should be applied for parents and daycare staff in order to manage the environment appropriate for preschool aged children.ก-ฎ, 159 แผ่น : ภาพประกอบ, ตารางapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการจัดการสิ่งแวดล้อมเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ไรฝุ่นบ้านผลของโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อปริมาณไรฝุ่น ความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กThe effect of environmental management program on house dust mites, knowledge and behavior of parents and daycare staffMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล