สุนีย์ ละกำปั่นทัศนีย์ รวิวรกุลณัฐชยา ไชยชนะ2024-01-052024-01-05256125612567วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91899การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการเสริมแรงจากเพื่อนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน ที่มีอายุ 40-60 ปี ในตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 31 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 31 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการเสริมแรงจากเพื่อน จำนวน 4 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ ชั่งน้ำหนักโดยผู้วิจัย ที่ก่อนการทดลอง สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square test, t-test, และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดข้อเข่าเสื่อม ความคาดหวังในผลของการปฏิบัติ ความคาดหวังในความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาไม่แตกต่างจากก่อนทดลองและจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p-value > .05) และน้ำหนักตัวลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p-value > .05) จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการเสริมแรงจากเพื่อนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมช่วยเพิ่มการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดข้อเข่าเสื่อม ความคาดหวังในผลของการปฏิบัติความคาดหวังในความสามารถตนเอง พฤติกรรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อม และน้ำหนักตัวลดลง ข้อเสนอแนะ สามารถนาโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจร่วมกับการเสริมแรงจากเพื่อนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมไปใช้ในผู้หญิงวัยกลางคนที่มีน้ำหนักตัวเกินซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงได้Knee Osteoarthritis is a public health problem which is increasingly prevalent and has the potential to affect quality of life. This quasi-experimental research studied the effect of protection motivation and a peer support program on Knee Osteoarthritis prevention behaviors in overweight women, aged 40-60 years old, in Tago, Thungtago District, Chumporn Province, sounthern Thailand. The samples consisted of 62 participants that were divided equally into 2 groups: 31 participants in the intervention group, and 31 participants in the comparison group. The intervention group participated in the protection motivation and peer support program 4 times within 8 weeks. Data were collected through 3 rounds of a self-administered questionnaire at the beginning of the study (baseline), and at 4 weeks and 8 weeks after intervention. Data were analyzed using Chi-Square test, t-test and Mann-Whitney U test, and were expressed as frequency, percentage, mean and standard deviation. The results indicated that, after intervention, the intervention group had statistically significantly higher average scores for perceived susceptibility, perceived severity, outcome expectation, self-efficacy and preventive behaviors of Knee Osteoarthritis than they did before participating in the program, and when compared to those of the comparison group (p-value < .05). While after intervention the quadriceps muscle strength of the intervention group were not different from their baseline strength nor from that of the comparison group, the intervention group had statistically significantly lower postintervention body weight than the baseline value (p-value > .05), but it was not different from that of the comparison group (p-value > .05). In summary, the protection motivation and peer support program of Knee Osteoarthritis preventive behaviors affected the perceived susceptibility, perceived severity, outcome expectation, self-efficacy, preventive behaviors of Knee Osteoarthritis as well as a reduction of body weight. These findings suggest that this protection motivation and peer support program could be usefully applied to overweight females in the community.ก-ญ, 149 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าข้อเข่า -- โรค -- การป้องกันแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สตรีน้ำหนักเกินผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการเสริมแรงจากเพื่อนต่อพฤติกรรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อมในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินEffect of protection motivation and peer support program on knee osteoarthritis prevention behaviors in overweight womenMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล