จริยา เลาหวิชสไบทิพย์ จูฑะกาญจน์เบญจา ทิพราชChariya LaohavichSabaitip ChoothakanBenja Tiparajมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาอายุรศาสตร์. สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต2019-10-222019-10-222562-10-212560รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 23, ฉบับที่ 2 (พ.ค.- 2560), 195-2070858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47936การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลความรู้ การเตรียมตัวส่องกล้องตรวจหลอดลมในรูปแบบวีดิทัศน์ ต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ที่มารับ การส่องกล้องตรวจหลอดลม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 ราย เป็นผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องตรวจ หลอดลมครั้งแรกที่ห้องส่องกล้องตรวจหลอดลม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสุ่มคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามที่กำหนดไว้ กลุ่มตัวอย่าง110 ราย เป็น กลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อมูลการเตรียมตัวส่องกล้องตรวจหลอดลมแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้ข้อมูลความรู้การเตรียมตัวส่องกล้องตรวจหลอดลมในรูปแบบ วีดิทัศน์ก่อนการตรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบวัดความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์วัดก่อน และหลังให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการส่องกล้องตรวจ หลอดลมที่ได้รับข้อมูลความรู้การเตรียมตัวส่องกล้องตรวจหลอดลมในรูปแบบวีดิทัศน์มี ความวิตกกังวลลดลงกว่าก่อนให้ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลดลงกว่าผู้ที่ได้รับข้อมูล ความรู้การเตรียมตัวส่องกล้องตรวจหลอดลมตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการให้ ข้อมูลความรู้การเตรียมตัวส่องกล้องตรวจหลอดลมในรูปแบบวีดิทัศน์จึงเป็นวิธีหนึ่งในการช่วย ลดความวิตกกังวลของผู้รับบริการส่องกล้องตรวจหลอดลมThis research was conducted by a quasi-experimental, two group pretestposttest test design. The purpose was to determine the effect of educational information with video compact disc on anxiety level patients undergoing bronchoscopy. The sample consisted of 220 patients, who first underwent bronchoscopy were randomly assigned to the control or experimental group at Outpatient Bronchoscopy Unit, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. The control group of 110 patients received educational information as usual care from nursing staff, while the experimental group of 110 patients received educational information with video compact disc. Research instruments included the Demographic Questionnaire and the Spielberger State-Trait Anxiety Inventory. Descriptive and t-test statistics were used for data analysis. The results of this study showed that the mean score of anxiety in the experimental group after receiving the educational information with video compact disc was significantly lower than that before receiving educational information with video compact disc. Also, the mean score of anxiety in the experimental group was statistically lower than that in the control group after receiving educational information. Therefore, the educational information with video compact disc could reduce the anxiety of patients undergoing bronchoscopy.thaมหาวิทยาลัยมหิดลชุดข้อมูลความรู้การส่องกล้องตรวจหลอดลมความวิตกกังวลวีดิทัศน์Educational informationBronchoscopyAnxietyVideo compact discผลของการให้ข้อมูลความรู้การเตรียมตัวส่องกล้องตรวจหลอดลมในรูปแบบวีดิทัศน์ต่อความวิตกกังวลของผู้รับบริการส่องกล้องตรวจหลอดลมEffect of Educational Information with Video Compact Disc on Anxiety Level of Patients Undergoing BronchoscopyArticleสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล