ศุทธิดา ชวนวันปราโมทย์ ประสาทกุลมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2014-08-272017-10-252014-08-272017-10-252557-08-272554-03วารสารประชากร. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (2554), 55-68.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2943ในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข ความเป็นเมือง การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรืออิทธิพลจากการลดลงของการเกิด และการตาย ทำให้ประชากรไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุจากเหตุผลสนับสนุนหลายอย่างที่ทำให้มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวขึ้นได้ จึงทำให้การศึกษานี้ต้องการที่จะพิสูจน์ว่า การรอดชีพของผู้สูงอายุในอดีตเมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับการรอดชีพของผู้สูงอายุในรุ่นปัจจุบัน การศึกษานี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประชากรทางอ้อม โดยใช้วิธีอัตราส่วนรอดชีพ สำมะโน (Census survival ratio) เพื่อศึกษาการรอดชีพที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2503-2543 ข้อมูลที่ใช้นำมาจากการสำมะโนประชากรและเคหะ ในปี พ.ศ.2503, 2513, 2523, 2533 และ 2543 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในปี พ.ศ.2533-2543 หรือเรียกได้ว่าเป็นผู้สูงอายุรุ่นหลัง จะมีโอกาสในการรอดชีพสูงกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มอายุเดียวกันเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุตอนปลายหรือผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง จะมีโอกาสในการรอดชีพสูงกว่าผู้สูงอายในกลุ่มอื่น แสดงว่าประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้น สำหรับเรื่องแบบแผนของการรอดชีพ การศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงอัตรารอดชีพจะผันกลับตามอายุ คือ ยิ่งอายุมากขึ้น อัตรารอดชีพจะยิ่งต่ำลง อัตรารอดชีพของผู้หญิงสูงกว่าของผู้ชายในทุกๆ ช่วงอายุ และทุกปี แต่อัตราเพิ่มขึ้นของการรอดชีพในผู้สูงอายุชายจะสูงกว่าของผู้หญิง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุรุ่นก่อนกับรุ่นหลังthaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้สูงอายุการรอดชีพการรอดชีพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2503-2543Improved survival among elderly in Thailand, 1960-2000Article