สุธิดา นครเรียบSuthida Nakhornriabดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศDoungrut Wattanakitkrileartวิชชุดา เจริญกิจการVishuda Charoenkitkarnสงคราม โชติกอนุชิตSongkram Chotikanuchitวชิรศักดิ์ วานิชชาVajirasak Vanijjaมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ2019-05-212019-05-212562-05-212560วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2560), 58-69https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43960วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยา ระหว่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับโมบายแอพพลิเคชั่น และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามปกติ รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อายุ 18 ปีขึ้นไป จํานวน 56 คน ที่รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยการสุ่มแบบบล็อก กลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลแบบปกติ ได้รับคู่มือการรับประทานยาสําหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และได้รับโมบายแอพพลิเคชั่นติดตั้งบนสมาร์ทโฟน ประกอบด้วย การเตือนรับประทานยาและนัดหมาย ฐานข้อมูลยา อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ระบบบันทึกการสถิติรับประทานยา และการเชื่อมต่อข้อมูลกับผู้วิจัย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ และได้รับคู่มือการรับประทานยาสําหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้ระยะเวลาการทดลอง 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัย : ภายหลังการทดลองคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับโมบายแอพพลิเคชั่นมากกว่ากลุ่มที่ควบคุมอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีความร่วมมือในการรับประทานยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.86 สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันถึงประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นในการเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรมีพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่อไปโดยใช้ในระบบปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการนําไปใช้โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นPurpose: To study the effects of a mobile application on medication adherence in stroke patients. Design: Experimental study. Method: The samples of this study were 56 patients with stroke, aged 18 years and above who followed up at one University Hospital in Bangkok. Block random assignment was used to assign the sample into the experimental group (N = 28) and the control group (N = 28). The experimental group received regular nursing care, the medication handbook for patients with stroke and was given the mobile application with reminder, medication information, stroke symptoms, medication taken record system and interconnection data system with the researcher. The control group received regular nursing care and the medication handbook for patients with stroke. Data were collected using personal data questionnaire and medication adherence report scale (MARS5) which obtained Cronbach’s Alpha Coefficient at .81 and were analyzed by Mann-Whitney U Test.Main finding: The result revealed that medication adherence among the experimental group was statistically significant higher than the control group (p < .05). Mobile application can improve patient adherence to medication 42.85%. Conclusion and recommendations: The finding of this study confirms the effectiveness of mobile application to increase medication adherence in stroke patients. The mobile application should be further developed in other operating systems to be more appropriately used by stroke patients.thaมหาวิทยาลัยมหิดลความร่วมมือในการรับประทานยาโมบายแอพพลิเคชั่นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing Scienceประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองThe Effectiveness of Mobile Application on Medication Adherence in Patients with StrokeArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล