ณิชวรรณ หิรัญประภากรกำธร มาลาธรรมศิริลักษณ์ อภิวาณิชย์ถนอมวงศ์ มัณฑจิตร์ทิพากร พรมีสุมาวดี สกุนตนิยมมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี2021-09-102021-09-102564-09-102561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63475ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 4ภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator associated pneumonia: VAP) คือ การติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลทั่วโลก โดยเฉพาะหอผู้ป่วยวิกฤตที่ผู้ป่วยส่วนมากจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะ VAP ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในปีพ.ศ. 2553–2556 โรงพยาบาลรามาธิบดีมีอัตรา VAP เท่ากับ 3.1-3.4 ต่อ 1,000 Ventilator-days ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายโรงพยาบาล คือ 3 ต่อ 1,000 Ventilator-days เพื่อลดอัตราการเกิด VAP และพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิด VAP งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อร่วมกับผู้เกี่ยวข้องจึงพัฒนาวิธีการดำเนินการ และแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการเกิด VAP (VAP bundle) โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการทุกหอผู้ป่วยวิกฤตและกึ่งวิกฤตผู้ใหญ่ ระหว่าง 1 ตุลาคม2556 ถึง 31 ธันวาคม 2560 หลังดำเนินการอัตรา VAP ในปีพ.ศ. 2557-2560 ลดลงเท่ากับ 2.8 2.5 1.5 และ 1.15 ต่อ 1,000 Ventilator-days ตามลำดับ เนื่องจากรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีวิธีการดำเนินการและแนวปฏิบัติที่ ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องthaมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจการติดเชื้อในโรงพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตVAP bundleMahidol Quality Fairการลดอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตและกึ่งวิกฤตแบบบูรณาการProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล